คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ฟาร์ม มทส.) ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรในโครงการ Cargill Care จังหวัดนครราชสีมา 104 ครัวเรือน บนพื้นที่การเกษตร 1,617.50 ไร่

พิธีส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกร ปี 2566

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ฟาร์ม มทส.) ร่วมกับบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และมหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาเขตสระแก้ว ) จัดพิธีส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ Cargill Care : ส่งเสริมการปลูกข้าวแบบปลอดภัย คือ ความใส่ใจจากคาร์กิลล์ ในพื้นที่ อ.โชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 104 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1,617.50 ไร่ศ.ดร. หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า การส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวนี้ เป็นการนำงานวิจัยด้านการเกษตรถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยมี นายธรรมธรรศ ทองสำโรง นายอำเภอโชคชัย นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์และองค์กรสัมพันธ์ บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด และ ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาเขตสระแก้ว) ร่วมส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566
.
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย “แนวทางการสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ของจังหวัดชลบุรี ” ของศูนย์ประสาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ประจำปีงบประมาณ 2566

คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย "แนวทางการสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ของจังหวัดชลบุรี " ของศูนย์ประสาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2566 จังหวัดชลบุรี จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานรูปแบบที่ดีของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อให้หน่วยงานและกลุ่มเป้าหมายในการร่วมสนองพระราชดำริฯ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยั่งยืน และในโอกาสนี้ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเกียรติเชิญร่วมบรรยายในการประชุมฯ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยบูรพา บรรยายหัวข้อ "ที่มาและความสำคัญของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ ลักษณะ วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. บรรยายหัวข้อ "แนวทางการดำเนินงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียนตามแนวทางของโครงการ (อพ.สธ.)" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพทูล แก้วหอม วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. บรรยายหัวข้อ "แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของโครงการ (อพ.สธ.)" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. บรรยายหัวข้อ "การใช้แอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องสำหรับการเก็บข้อมูลทรัพยากร" และ นายสมเกียรติ พันธ์ศิริ เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. บรรยายหัวข้อ "แนวทางสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (อพ.สธ.) ของสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและสมาชิกฐานทรัพยากร" ณ ห้องประชุมรัตนแกรนด์ โรงแรมรัตนชล อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 7/2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเคมี ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเคมี ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2566

ศิษย์เก่าสาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร นางสาวภาวิณี อาชา เข้าร่วมและนำเสนอผลงานประเภทโปสเตอร์ ในการประชุมวิชาการแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 1 The 1st National Goat Conference, NGC-2023 “BCG Model ยกระดับแพะไทย เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร”

ศิษย์เก่าสาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว นางสาวภาวิณี อาชา ปัจจุบันศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้าร่วมและนำเสนอผลงานประเภทโปสเตอร์ ในการประชุมวิชาการแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 1 The 1st National Goat Conference, NGC-2023 “BCG Model ยกระดับแพะไทย เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร” 29-30 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ดิอิมพีเรียล แอนคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช

การประชุมวิชาการแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 1 The 1st National Goat Conference, NGC-2023 “BCG Model ยกระดับแพะไทย เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร” 29-30 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ดิอิมพีเรียล แอนคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช โดยมีหน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ภายในการประชุมวิชาการฯ ประกอบด้วยกิจกรรมวิชาการ การเสวนาทางวิชาการ ทั้งภาคนักวิชาการ ภาคผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ตลอดจนการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ บูทนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงแพะ
โดยมีศิษย์เก่าสาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว นางสาวภาวิณี อาชา ปัจจุบันศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้าร่วมและนำเสนอผลงานประเภทโปสเตอร์
 

งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จัดโครงการ “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ สำหรับผู้พิการจังหวัดสระแก้ว”

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
จัดโครงการ “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์
สำหรับผู้พิการจังหวัดสระแก้ว”

เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ร่วมกับสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) และมูลนิธิหอการค้าไทย จัดโครงการบริการวิชาการสู่สังคม “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ สำหรับผู้พิการจังหวัดสระแก้ว” ประจำปี 2566 ในอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๑๐ คน ร่วมกับผู้ประสานงานในพื้นที่ และผู้แทนสำนักงานโคเออร์อรัญประเทศ ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว กล่าวเปิดโครงการฯ
_______________________________________
โครงการฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในด้านการเคลื่อนไหวและได้รับการฟื้นฟูแรงใจ โดยมีผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติในการเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่ในระดับที่สามารถปฏิบัติได้จริง ครอบคลุมด้านการจัดการเลี้ยงและการให้อาหาร การปรับใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น แนวทางการใช้พืชสมุนไพรในอาหารไก่ไข่ ฝึกปฏิบัติการการผสมอาหารและคำนวณสูตรอาหารอย่างง่าย โรคและการป้องกัน สุขาภิบาลในไก่ไข่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้เป็นของตนเอง นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาดูงานฟาร์มไก่ไข่ตัวอย่าง ณ บ้านเสาสูง ตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยประธานสมชาย เอ็มอ่วม ได้เล่าถึงประสบการณ์จริงในการเลี้ยงไก่ไข่ ปัญหาที่อาจพบและแนวทางการแก้ไข ตลอดจนสาธิตการปรับใช้อาหารเสริมในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายเพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่
_______________________________________
ท้ายนี้ ทางคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับเกียรติจาก ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
และผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม มอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการฯ ดังกล่าวด้วย
 

งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ และ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Trends in sciences ตีพิมพ์เผยแพร่ ปี ค.ศ. 2022 ฉบับที่ 21

📣 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ และ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร
📝 ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Trends in sciences ตีพิมพ์เผยแพร่ ปี ค.ศ. 2022 ฉบับที่ 21 หน้า 6270 ที่อยู่ในฐานข้อมูล SJR Q3 ด้าน Chemistry
————————————————-
📌 ข้อมูลงานวิจัยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์ และ ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริฐ อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ที่ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร

📣 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ
ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์ และ ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริฐ
อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ที่ได้รับการจดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร
ผลงาน เรื่อง กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดเซฟราเรนทีน (cepharanthine) จากหัวบัวบกป่า (Stephania pierrei)
.
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตรข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยใน “โครงการศูนย์เรียนรู้ การบริหารจัดการการเกษตรแปลงใหญ่แบบยั่งยืน” กับ บริษัท ไผ่สระแก้ว คอนซัลแต้นท์ จำกัด

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 10.00 น. รศ.ดร.ธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสระแก้ว ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร. สิรินารี เงินเจริญ ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยใน “โครงการศูนย์เรียนรู้ การบริหารจัดการการเกษตรแปลงใหญ่แบบยั่งยืน ” กับคุณรพีพรรณ ปฏิหารย์ ประธานกรรมการ นายเสกสรร พรสวัสดิ์ ประธานอำนวยการ นายธนกฏต ปฏิหารย์ ประธานบริหาร บริษัท ไผ่สระแก้ว คอนซัลแต้นท์ จำกัด โดยมหาวิทยาลัยและบริษัทมีวัตถุประสงค์ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เพื่อให้นักศึกษา ได้มีความรู้และทักษะในการฝึกปฏิบัติงานจริงในสายวิชาชีพที่ศึกษา ทำให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในการปลูก การดูแลรักษา กระบวนการผลิตไผ่ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ความรู้ในเรื่องไผ่ และการตลาดไผ่ รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ให้ตรงกับความต้องการของบริษัทและภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไผ่ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางด้านงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยกับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท โดยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยผลิตไผ่ให้แก่บริษัท ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์สำหรับศึกษาเรียนรู้ ฝึกประสบการณ์อาชีพให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์วิจัย ศูนย์เรียนรู้ พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจประกอบอาชีพการปลูกไผ่ และเป็นแหล่งหารายได้ระหว่างเรียนของนักศึกษา ตลอดจนแลกเปลี่ยนบุคลากรในการช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของบริษัทและภาคอุตสาหกรรม
.
งานประชาสัมพันธ์กองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริฐ ที่ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่น รุ่นใหม่ (อายุการปฏิบัติงาน 8-12 ปี) ผู้มีผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จำนวนสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2565

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริฐ
ที่ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่น รุ่นใหม่ (อายุการปฏิบัติงาน 8-12 ปี)
ผู้มีผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
จำนวนสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2565
Credit: BUU Research