“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)” หรือ ดีพร้อม ดันโกโก้ไทยสู่ ‘โกโก้ฮับ’ หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future”

"กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)" หรือ ดีพร้อม
ดันโกโก้ไทยสู่ 'โกโก้ฮับ' หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก
ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรม
ในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้ว
ด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม "Cocoa Go To The Future"

“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)” หรือ ดีพร้อม ดันโกโก้ไทยสู่ ‘โกโก้ฮับ’ หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 
โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future”
.
เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และนายขวัญน้อง ภักติวานิช ร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future” ‘ดีพร้อม’ โดยบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปจากผลโกโก้ 
แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ “การพัฒนาเทคนิคการหมักโกโก้” หัวข้อดังนี้ เทคนิคการคัดเลือกผลผลิต ผลโกโก้ กะเทาะผลโกโก้ร่วมกัน เตรียมลังไม้เพื่อหมักโกโก้ เตรียมอุปกรณ์ในการหมักโกโก้ วิธีการหมักโกโก้ การทดสอบคุณภาพ ทดสอบคุณสมบัติ/สีกลิ่น ให้ได้คุณภาพ มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ และในวันที่ 28 ก.พ. 2567 กิจกรรมแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ “การแปรรูปโกโก้” 
หัวข้อดังนี้ 
เทคนิคการแปรรูปโกโก้เป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
– วิธีการทำช็อกโกแลต ตั้งแต่เมล็ดถึงช็อกโกแลต
– การชงเครื่องดื่มช็อกโกแลต (Chocolate tasting session)
– การฝึกซิมช็อกโกแลโดยการชิมผสไม้ของจริงเพื่อเทียบรสและกลิ่น
– และแนวทางการ DIY จาก waste มาทำเป็น เครื่องประดับแฟชั่น
บรรยายหัวข้อ
การเพิ่มกลยุทธ์การตลาดด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Storyteling)
ซึ่งนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เปิดเผยว่า ดีพร้อมจะดำเนินการมุ่งผลักดันให้อุตสาหกรรมโกโก้ของประเทศเติบโตสู่การเป็นโกโก้ฮับ (THAI COCOA HUB) 
และและพืชเศรษฐกิจหลักของไทยทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ทั้งนี้ เนื่องจากโกโก้เป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดโลกสูง มีการจําหน่ายและส่งออกไปยังหลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ รวมถึงแนวโน้มความต้องการและราคาในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 5,800 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 210,000 บาท ต่อตัน
อีกทั้งโกโก้ยังเป็นพืชแห่งอนาคต (Future Crop) สามารถนำทุกส่วนของโกโก้มาแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น กลุ่มอาหารที่ให้ประโยชน์สูงต่อร่างกาย (Super Food) 
โกโก้ผง เนยโกโก้ ช็อกโกแลต เครื่องสําอาง นํ้าหอม จึงส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกโกโก้ในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านภูมิประเทศสามารถปลูกโกโก้ได้ครอบคลุมทุกภูมิภาค

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น “ ผู้มีผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จำนวนสูงสุด ประจำปีพ.ศ. 2566” มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ
เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น
“ผู้มีผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จำนวนสูงสุด ประจำปีพ.ศ. 2566” มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2566

นิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข. สระแก้ว ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดการจัดตู้ปลาสวยงาม ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

นิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข. สระแก้ว
ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดการจัดตู้ปลาสวยงาม
ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

กิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ของนิสิตสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 25667 หลักสูตรฯ จัดโครงการศึกษาดูงาน ณ บริษัท ที.ซี.ยูเนียน อโกรเทค จํากัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ ณ จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร

📍เมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2567
🔹 อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อ.ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และผศ.ดร.สมคิด ใจตรง อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร
🔹ในการรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปีพ.ศ. 2566 และแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ ในปีพ.ศ. 2567 ณ โรงแรมแคนทารี่ โฮเทล แอนด์ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มบริษัทคาร์กิลล์ฯ ยินดีร่วมดำเนินการโครงการกิจกรรมเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2567 และพ.ศ. 2568 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป

มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร และแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ของพวกเรากันนะคะ

 มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร และแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ของพวกเรากันนะคะ
☑️สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (วท.บ.) 🥐🥩🧀🍦🥃🍬
ทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร กึ่งอาหาร และไม่ใช่อาหาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม รวมถึงตำแหน่งอื่น ๆ ในฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ ฝ่ายการตลาด เป็นต้น และประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
☎️ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม (โทร 086-746-2377)

☑️• แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ (Smart Farming and Supply Chain) (วท.บ.) (สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) 🚜🛰📲🧑‍💼‍💻
(ปีที่ 1-2 เรียนที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาเขตสระแก้ว และปีที่ 3-4 เรียนที่คณะโลจิสติกส์ วิทยาเขตบางแสน ม.บูรพา)
ทำงานในสายงานนักจัดการในองค์กรธุรกิจทางการเกษตร ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนปัจจัยการผลิต การดูแล และการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร นักออกแบบเทคโนโลยีและห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร นักออกแบบ นักวิเคราะห์และวางแผนด้านเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงสามารถเป็นผู้ประกอบการและนักธุรกิจด้านการเกษตรสมัยใหม่
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://buulog.com/ หรือ FB: BUULOG
☎️ติดต่อได้ที่ อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช (โทร 061-415-2225)

🥳✔คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
**ภาคปกติ รับวุฒิ ม.6 ปวช.หรือเทียบเท่า
**ภาคปกติ (หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน) (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) รับวุฒิ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า
-สมัครผ่านเวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://e-admission.buu.ac.th
-รายละเอียดระเบียบการสมัคร : https://regservice.buu.ac.th
📝 รายละเอียดเพิ่มเติม: https://agri-tech.sakaeo.buu.ac.th/
หรือ FB: คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา นะคะ

มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร ของพวกเรากันนะคะ• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)- กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช – กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ 

 มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร ของพวกเรากันนะคะ
☑️• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช 🥬🍅🌽🌳🍀🍠
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ 🐥🐄🐑🐏🐗🐮
สายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร สามารถทำงานในหน่วยงานด้านการเกษตร นักวิชาการ หรือนักวิจัย ตามสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักสัตวบาล นักส่งเสริมการเกษตร 

นักส่งเสริมการขายสินค้าในภาคธุรกิจเกษตร ประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตร หรือเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร

☎️ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ (โทร 089-490-5896)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว 

รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
**ภาคปกติ รับวุฒิ ม.6 ปวช.หรือเทียบเท่า
**ภาคปกติ (หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน) (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) 

รับวุฒิ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า
-สมัครผ่านเวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://e-admission.buu.ac.th
-รายละเอียดระเบียบการสมัคร : https://regservice.buu.ac.th
📝 รายละเอียดเพิ่มเติม: https://agri-tech.sakaeo.buu.ac.th/ 

หรือ FB: คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ ร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Corporate BCG and Sufficient Economy Model

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับคณะโลจิสติกส์ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะโลจิสติกส์ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model นำโดย
– รองศาตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์
– ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะโลจิสติกส์ ร่วมกิจกรรมเดินตามรอยปราชญ์เกษตร การเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะมีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนของหลักสูตรแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรได้ โดยริเริ่มจากกระบวนการการเรียนรู้การผลิตและการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากพืชเศรษฐกิจ แล้วนำหลักการดังกล่าวไป เพิ่มคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในครั้งนี้ มีกิจกรรมลงแปลงเกษตรเพื่อเตรียมหน้าดิน ลงต้นอ่อนเพื่อเพาะปลูกพืชสมุนไพรสรรพคุณชะลอวัย มีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายอาการเหนื่อยล้า “ว่านโปร่งฟ้า” และกิจกรรมสุดพิเศษส่งท้าย กิจกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง (Sorghum) พืชทนร้อนทดแดดเหมาะกับสภาพอากาศของไทย เพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาผลิตเป็นมอลต์เพื่อผลิตคราฟต์เบียร์ข้าวฟ่าง (Craft Beer)
โดยโครงการฯ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 โปรดติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจใน Episode ต่อไปค่ะ ♥

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์
ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช เข้าร่วมติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ดร.ภญ.ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะ โดยเข้าติดตาม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดตามเพื่อรับฟังปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่กลุ่มฯ ผลิตได้ตามเงื่อนไขเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตยาสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง กับ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง
กับศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช และคณบดีคณะโลจิสติกส์ รองศาสตราจารย์ ดร. ณกร อินทร์พยุงและรองคณบดีคณะโลจิสติกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล  เข้าพบ คุณวัลลีย์ อมรพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อทราบทิศทางการศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง