กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม
Credit: ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ

🎯ปฏิบัติการเรียนรู้หญ้าเนเปียร์หมัก
🌱🌿🌳คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ได้มีการจัดการเรียนวิชาทักษะเกษตรพื้นฐาน มีการเรียนรู้ปฏิบัติการทำหญ้าหมักจากหญ้าเนเปียร์ 🚜👨🏼‍🌾👩🏻‍🌾
👉โดยมี ผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ ให้ความรู้การทำหญ้าหมักเป็นอาหารสัตว์ นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการตัดหญ้าเนเปียร์ที่อายุประมาณ 60 วัน ☀️🌤️ ผึ่งลดความชื้นให้เหลือประมาณ 65-75 % หั่นเป็นชิ้นๆ ขนาด 1 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสับ จากนั้นบรรจุลงในภาชนะถังพลาสติคที่มีฝาปิดล็อค อัดให้แน่น เก็บในที่ร่มประมาณ 21 วัน จะได้หญ้าหมักที่ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์ มีกลิ่นหอมเปรี้ยวอ่อนๆ สีเหลืองอมเขียว เนื้อไม่เละหรือเป็นเมือก สามารถเปิดและนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ 🐃🐄🐂🤩
Credit: ดร. ประทีป อูปแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ

⏰คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
🎉📈รายวิชา-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร
(Plant Tissue Culture of Economic Plants and Herbs)
(75 ชั่วโมง) (ทฤษฎี 15 ชั่วโมง, ปฏิบัติ 60 ชั่วโมง) 3,500 บาท เรียน เสาร์-อาทิตย์ 9.00 – 16.00 น.
-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพรที่เน้นการปฏิบัติจริงเหมาะสำหรับบุคคลทุกกลุ่ม โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ ไม้ดอก และไม้ประดับที่มีมูลค่าสูง
————————————————–
👉อาจารย์ผู้สอนรายวิชา/ชุดวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ ลักษณะ
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 7 คน
📲☎สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”
ในรายวิชา “การวิเคราะห์อาหารและผลิตภัณฑ์”
สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
Credit: ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริญ

กิจกรรมการเรียนการสอนวิชา จุลชีววิทยา หัวข้อ การย้อมแกรมแบคทีเรีย ของนิสิตชั้นปีที่ 2

กิจกรรมการเรียนการสอนวิชา จุลชีววิทยา หัวข้อ การย้อมแกรมแบคทีเรีย ของนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
Credit ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์

กิจกรรมการคำนวณสูตรอาหารสำหรับแพะเนื้อ -โคนม-โคเนื้อ

กิจกรรมการคำนวณสูตรอาหารสำหรับแพะเนื้อ -โคนม-โคเนื้อ โดยวิธี ลองผิดลองถูก (Trial and error) และวิธี Criss Cross รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต้องทราบในการผลิตอาหารสัตว์ เช่นปริมาณโภชนะในวัตถุดิบอาหาร ข้อจำกัดในการใช้วัตถุดิบแต่ละชนิด และความต้องการโภชนะของสัตว์นั้นๆ ของนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมดำนา ณ มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ให้กับนิสิตสาขา Smart Farming ชั้นปีที่ 1 และนิสิตเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass power plant) ขนาด 9.6 เมกกะวัตต์ บริษัท กรีน พาวเวอร์ 2 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว

รองศาสตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมดำนา ณ มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ให้กับนิสิตสาขา Smart Farming ชั้นปีที่ 1 และนิสิตเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass power plant) ขนาด 9.6 เมกกะวัตต์ บริษัท กรีน พาวเวอร์ 2 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นชีวมวล หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น จากเปลือกไม้ยูคาลิปตัส ไม้ผสม ทะลายปาล์ม ใยปาล์ม เหง้ามัน ใบอ้อย ฯลฯ
Key Success Factors ของโรงไฟฟ้าชีวมวล ขึ้นอยู่กับการบริหารซัพพลายเชน ฝ่ายจัดหา/จัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นชีวมวลหรือของเหลือทางการเกษตรฯ (Feed stock) ป้อนเข้าสู่โรงงาน ในปริมาณ 200 – 300 ตัน ต่อวัน เพื่อผลิตไฟ้ฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 24/7 รวมทั้ง การบริหารส่วนต่างราคา (กำไร) ของ Feed stock ที่รวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ Stakeholders ในซัพพลายเชน ได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารต้นทุนการขนส่ง จากแหล่ง Feed stock เข้าสู่โรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้า และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยตรง บริษัทฯ ได้จำหน่ายไฟฟ้าตามสัญญาการขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Very Small Power Producer (VSPP ขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์), Feed-in Tariff (Fit) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตลอดอายุสัญญา 15 ปี

เปิดรับสมัครเรียน หลักสูตรระยะสั้น (Short course) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

🎯เปิดรับสมัครเรียน หลักสูตรระยะสั้น (Short course) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
หลักสูตรระยะสั้น: การรับรองมาตรฐาน GAP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานสินค้าเกษตร
(30 ชั่วโมง) 2,000 บาท เรียน เสาร์-อาทิตย์ 9.00 – 16.00 น. หรือจันทร์-ศุกร์ 16.00 – 19.00 น. (ทฤษฎี 30 ชั่วโมง)
โดยมี 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด ใจตรง
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บังอร ประจันบาล
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประทีป อูปแก้ว
เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา
📋🌟📚เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการตรวจรับรอง วางแผนการจัดการแปลงเกษตร และสามารถยื่นขอรับรองมาตรฐาน GAP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานสินค้าเกษตรได้
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 10 คน
(ผู้ที่ผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ของหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยบูรพา)
☎สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang

การเรียนรู้การออกแบบภูมิทัศน์เบื้องต้น

การเรียนรู้การออกแบบภูมิทัศน์เบื้องต้น⚙️🔭📡
การออกแบบภูมิทัศน์เบื้องต้น ต้องมีการสำรวจข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ต้องสำรวจและจัดหาข้อมูลด้านต่างๆเพื่อนำมาดำเนินการออกแบบภูมิทัศน์ด้านพื้นที่ ได้แก่การหาข้อมูลต่างๆ จากลักษณะพื้นที่นั้นๆ ได้แก่ รูปทรงและขนาดของพื้นที่ ทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ 🌞และทิศทางการรับแสงของพื้นที่ ทิศทางการพัดผ่านของลม 🎐💨สภาพฟ้าอากาศ 🌦️🌡️อุณหภูมิ ทิศทางการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ความสูงต่ำ ความลาดชัน และความราบลุ่มของพื้นที่ แหล่งน้ำในพื้นที่ สภาพป่าไม้ หรือพืชพรรณที่มีอยู่เดิม สภาพสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ กลิ่น เสียง ฝุ่นละอองที่รบกวนการใช้งานในพื้นที่ เส้นทางสัญจรภายในพื้นที่และที่ติดกับพื้นที่ ตำแหน่งหรือแนวเส้นที่วางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น แนวสายไฟฟ้า แนวท่อ
น้ำประปาเป็นต้น เพื่อให้นิสิตใช้การวางแผนการจัดการฟาร์มต่อไป
Credit: ดร. ประทีป อูปแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรับสมัครเรียน ปีการศึกษา 2568 รอบ TCAS1 : Portfolio ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. – 9 ธ.ค. 2567

💥🎯–>สมัครเรียน TCAS68

(รอบ TCAS 1: รอบ Portfolio)
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
รับสมัครรอบที่ 1 ระหว่างวันที่ “1 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2567”
รับสมัครรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ “7 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2567”
————————————————-
🌟📌 รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2568 รายละเอียดระเบียบการสมัคร: https://regservice.buu.ac.th
**ภาคปกติ รับวุฒิ ม.6 ปวช.หรือเทียบเท่า
**ภาคปกติ (หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน) (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) รับวุฒิ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า
😍-สมัครผ่านเวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://e-admission.buu.ac.th
-หลักสูตรที่เปิดสอน
👉• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
👉• สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (วท.บ.)
👉และ • แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ (Smart Farming and Supply Chain) (วท.บ.) (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) 
(ปีที่ 1-2 เรียนที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาเขตสระแก้ว และปีที่ 3-4 เรียนที่คณะโลจิสติกส์ วิทยาเขตบางแสน ม.บูรพา)
🌱📚สอบถามข้อมูลสาขาวิชาโดยตรงได้ที่:
🤜-สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์)
🎯ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) ID Line: onsulang
=================================
🤜-สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
🎯ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์ (โทร 062-946-1161)
=================================
🤜-แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ
🎯ติดต่อได้ที่ อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช (โทร 061-415-2225)
หรือ รายละเอียดเพิ่มเติม: https://buulog.com/
หรือ FB: BUULOG
_________________________________________________________________
นอกจากนี้ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) 
และหลักสูตรระยะสั้น (Short course) ดังนี้
📋🌟☎️สอบถามข้อมูลได้ที่: ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Line: onsulang