“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)” หรือ ดีพร้อม ดันโกโก้ไทยสู่ ‘โกโก้ฮับ’ หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future”

"กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)" หรือ ดีพร้อม
ดันโกโก้ไทยสู่ 'โกโก้ฮับ' หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก
ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรม
ในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้ว
ด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม "Cocoa Go To The Future"

“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM)” หรือ ดีพร้อม ดันโกโก้ไทยสู่ ‘โกโก้ฮับ’ หนุนสระแก้วสู่โกโก้ฮับภาคตะวันออก ณ วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 
โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future”
.
เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และนายขวัญน้อง ภักติวานิช ร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรมในกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้จังหวัดสระแก้วด้วยพลังแนวคิดใหม่ให้ดีพร้อม “Cocoa Go To The Future” ‘ดีพร้อม’ โดยบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปจากผลโกโก้ 
แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ “การพัฒนาเทคนิคการหมักโกโก้” หัวข้อดังนี้ เทคนิคการคัดเลือกผลผลิต ผลโกโก้ กะเทาะผลโกโก้ร่วมกัน เตรียมลังไม้เพื่อหมักโกโก้ เตรียมอุปกรณ์ในการหมักโกโก้ วิธีการหมักโกโก้ การทดสอบคุณภาพ ทดสอบคุณสมบัติ/สีกลิ่น ให้ได้คุณภาพ มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ และในวันที่ 28 ก.พ. 2567 กิจกรรมแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ “การแปรรูปโกโก้” 
หัวข้อดังนี้ 
เทคนิคการแปรรูปโกโก้เป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
– วิธีการทำช็อกโกแลต ตั้งแต่เมล็ดถึงช็อกโกแลต
– การชงเครื่องดื่มช็อกโกแลต (Chocolate tasting session)
– การฝึกซิมช็อกโกแลโดยการชิมผสไม้ของจริงเพื่อเทียบรสและกลิ่น
– และแนวทางการ DIY จาก waste มาทำเป็น เครื่องประดับแฟชั่น
บรรยายหัวข้อ
การเพิ่มกลยุทธ์การตลาดด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Storyteling)
ซึ่งนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เปิดเผยว่า ดีพร้อมจะดำเนินการมุ่งผลักดันให้อุตสาหกรรมโกโก้ของประเทศเติบโตสู่การเป็นโกโก้ฮับ (THAI COCOA HUB) 
และและพืชเศรษฐกิจหลักของไทยทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ทั้งนี้ เนื่องจากโกโก้เป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดโลกสูง มีการจําหน่ายและส่งออกไปยังหลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ รวมถึงแนวโน้มความต้องการและราคาในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 5,800 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 210,000 บาท ต่อตัน
อีกทั้งโกโก้ยังเป็นพืชแห่งอนาคต (Future Crop) สามารถนำทุกส่วนของโกโก้มาแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น กลุ่มอาหารที่ให้ประโยชน์สูงต่อร่างกาย (Super Food) 
โกโก้ผง เนยโกโก้ ช็อกโกแลต เครื่องสําอาง นํ้าหอม จึงส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกโกโก้ในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านภูมิประเทศสามารถปลูกโกโก้ได้ครอบคลุมทุกภูมิภาค

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ ณ จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร

📍เมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2567
🔹 อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อ.ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และผศ.ดร.สมคิด ใจตรง อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร
🔹ในการรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปีพ.ศ. 2566 และแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ ในปีพ.ศ. 2567 ณ โรงแรมแคนทารี่ โฮเทล แอนด์ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มบริษัทคาร์กิลล์ฯ ยินดีร่วมดำเนินการโครงการกิจกรรมเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2567 และพ.ศ. 2568 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ ร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Corporate BCG and Sufficient Economy Model

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับคณะโลจิสติกส์ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะโลจิสติกส์ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model นำโดย
– รองศาตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์
– ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะโลจิสติกส์ ร่วมกิจกรรมเดินตามรอยปราชญ์เกษตร การเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะมีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนของหลักสูตรแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรได้ โดยริเริ่มจากกระบวนการการเรียนรู้การผลิตและการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากพืชเศรษฐกิจ แล้วนำหลักการดังกล่าวไป เพิ่มคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในครั้งนี้ มีกิจกรรมลงแปลงเกษตรเพื่อเตรียมหน้าดิน ลงต้นอ่อนเพื่อเพาะปลูกพืชสมุนไพรสรรพคุณชะลอวัย มีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายอาการเหนื่อยล้า “ว่านโปร่งฟ้า” และกิจกรรมสุดพิเศษส่งท้าย กิจกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง (Sorghum) พืชทนร้อนทดแดดเหมาะกับสภาพอากาศของไทย เพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาผลิตเป็นมอลต์เพื่อผลิตคราฟต์เบียร์ข้าวฟ่าง (Craft Beer)
โดยโครงการฯ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 โปรดติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจใน Episode ต่อไปค่ะ ♥

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์
ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช เข้าร่วมติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ดร.ภญ.ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะ โดยเข้าติดตาม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดตามเพื่อรับฟังปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่กลุ่มฯ ผลิตได้ตามเงื่อนไขเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตยาสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง กับ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง
กับศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช และคณบดีคณะโลจิสติกส์ รองศาสตราจารย์ ดร. ณกร อินทร์พยุงและรองคณบดีคณะโลจิสติกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล  เข้าพบ คุณวัลลีย์ อมรพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อทราบทิศทางการศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง

คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมด้วย อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย รวมทั้งได้ประชุมหารือเพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อน
และเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วยอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว
เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล
และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช พร้อมด้วยรองคณบดี ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ได้ต้อนรับ Prof. Oleg Shovkovyy อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทำงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง ด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร
👉 นอกจากนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันในอนาคต

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา ติดตามผลการดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย ประจำปี 2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ติดตามผลดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย คือความใส่ใจจากคาร์กิลล์ ประจำปี 2566 ในการรายงานปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างการเพาะปลูก วิธีการแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น
และแผนการดำเนินงานโครงการฯในปีถัดไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Project: “Farmer Project”
: Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability)
รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ
ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
และนายไสว ศรีไสย ตำแหน่ง Corporate Responsibility Manager Global Communications Corporate Responsibility บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกาตรเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตรเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 ) 📍ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุม

เมื่อวันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ. 2566
ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว พร้อมด้วย ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ เข้าร่วม การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 )
📍ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุมชนและสังคมภายใต้โครงการเกษตรอาหารกลางวัน ประจำปี 2566 ร่วมกับผู้บริหารของหน่วยงานพันธมิตร ซึ่งเป็นหนึ่งของการสร้างเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการ โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ทำงานร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมการดำเนินงานมาแล้ว 2 ปี นั้น ทำให้เห็นความก้าวหน้าและการพัฒนากิจกรรมของโครงการฯ
ซึ่งในปี 2566 มีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วม จำนวน 43 แห่ง ทั้งนี้มีครูผู้ดูแลโครงการ ผู้บริหารทุกภาคส่วนร่วม ระดมความคิดเห็น จำนวน 100 ท่าน รวมถึงองค์ความรู้ที่เด็กนักเรียนในโครงการจะได้รับการถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและแนวทางการเลือกศึกษาต่อในอนาคต เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน เพิ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร
📍โดยการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้มีการระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานโครงการฯ และนำเสนอ 3 หัวข้อ คือ
👉 1) การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมและเทคโนโลยีของโครงการฯ
👉 2) ผลลัพธ์ของโครงการฯ นำไปสู่โภชนาการที่ดีของเด็กในโรงเรียน
👉 และ 3) ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ที่ส่งผลต่อโรงเรียนและชุมชนที่ได้รับจากโครงการฯ
ซึ่งผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของกิจกรรมในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการทำงานของโครงการในปีต่อไป

“Farmer Project”: Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability

“Farmer Project”
Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่สอดรับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยบูรพา (SDGs BUU)
ภายใต้โครงการ “Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน”

ในวันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ร่วมกับฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัทคาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดกิจกรรม ณ เทศบาลตำบลห้วยป่าหวาย ตำบลห้วยป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ให้แก่เกษตรกร จำนวน 75 คน โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวและพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญให้ปลอดภัย และการดูแลรักษาระหว่างเพาะปลูก การจัดการดิน น้ำ และธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพดี และปลอดภัยต่อผู้บริโภค

Project: “Farmer Project”: Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability
SDGs 1: No Poverty
SDGs 2: Zero Hunger
SDGs 4: Quality Education
SDGs 17: Partnerships for the Goals
Please see the reference: http://sustainability.buu.ac.th/SDGs/?page_id=1483
Content credit: SDGs BUU http://sustainability.buu.ac.th/SDGs

The Faculty of Agricultural Technology, Burapha University, Sa Kaeo Campus.

Referring to the project “Cargill Care: Promoting safe rice cultivation”, that Faculty of Agricultural Technology, Burapha University, Sa Kaeo Campus collaborated with Suranaree University of Technology and Cargill Meats (Thailand) Co., Ltd. to organize activities at Kratok Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province for 104 rice farmers by informing them of safe rice production methods and the management of rice plots. And this project success gone very well.

So, we considered to expand the project under the project “Farmer: Promoting the knowledge of economic crops for sustainability”.

On Jan 21st 2023, we organized activities at Huai Pa Wai district, Saraburi Province for agriculturist around this area to develop agricultural knowledge such as growth of rice and important of economic vegetables to gain safe vegetable production benefits farmers, retailers, and consumers and water management for the benefit of the community and the environment. This project is to develop a network of cooperation in activities that are in line with the United Nations Sustainable Development Goals (SDGs). including other relevant sustainable development goals.

อ่านข่าวเพิ่มเติ่ม http://sustainability.buu.ac.th/SDGs

งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว