คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน พ.ศ.2566
ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์
ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มอบหมายให้ ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.ภัทรภร ธรรมมะผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
.
โดย นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในเปิดพิธี ร่วมบรรยายนโยบายและ
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพร้อมให้โอวาทสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะทำงานและสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง ทั้งนี้ ดร.ณันศภรณ์ นิลอรุณ ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ดร.โสภิณ วิริยะพาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพวงคราม ดร.สท้าน วารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว และสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง เข้าร่วมพร้อมทั้งอบรมในหัวข้อ การสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มาและความสำคัญการพัฒนากรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) การสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาความสอดคล้องของกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 กับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา ตารางการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning จากโรงเรียนดรุณสิกยาลัย โรงเรียนเพลินพัฒนา และ โรงเรียนสุจิปลิ สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กิจกรรมกลุ่มสถนศึกษานำร่องที่มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนา
นวัตกรรมการศึกษาในทิศทางเดียวกันร่วมกัน จัดทำโครงสร้างรายวิชและออกแบบหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 และ สรุปผลการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหลักสูตรตามกรอบ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ท.ศ.2566
.
ในการนี้สถานศึกษ นำร่องทั้ง 73 แห่งสามารถนำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสระแก้วในเรื่องของ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 10 กลุ่มดังนี้
1) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์สำคัญและบุตคลสำคัญใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
2) เศรษฐกิจ การค้าขายแดน อาชีพและการประกอบธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว
3) การเมือง การปกครองในจังหวัดสระแก้ว
4) ประเพณีท้องถิ่นและ 5 ชนชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว
5) ธรณีวิทยา สภาพดิน สภาพน้ำและสภาพอากาศใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
6) อารยเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 10
7) AI และ Digital สำหรับการพัฒนานวัตกรรมตามบริบทเชิงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 😎 นวัตกรรมการพัฒนาภาษาไทยเพื่อการอ่านออก เขียนได้
9) ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากัมพูชา กับการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว
10) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาจังหวัดสระแก้วไปปรับใช้ในโรงเรียน

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตไวน์ ณ ตึกศูนย์วิจัยเกษตรและเทคโนโลยี ม.บูรพา วข.สระแก้ว

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตไวน์

ภาพกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตไวน์
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น. โดยวิทยากร นายพงษ์ศักดิ์ หมื่นชนะ และผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม
ณ ตึกศูนย์วิจัยเกษตรและเทคโนโลยี ม. บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
สนใจอยากให้เราจัดอบรมเรื่องอะไรสามารถแจ้งภายใต้ข้อความนี้ได้เลยครับ
หรือโทรเข้าสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0867462377 (ดร.ไกรยศ)

นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตรในกิจกรรมการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ ในหัวข้อการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์

นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ในกิจกรรมการเรียนการสอน
การถ่ายทอดความรู้ เทคนิค และประสบการณ์
ในหัวข้อการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์

ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม ได้รับเชิญจาก ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ให้ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ ในหัวข้อการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ให้กับนิสิตชั้นปี 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว รวมจัดกิจกรรมนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว รวมจัดกิจกรรมนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2566

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565

 
ภาพบรรยากาศการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมทางไกล ชั้น ๔ อาคารสุชาติฯ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ไชยวิทย์ ธนไพศาล เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนพล พุกเส็งและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีสุข เป็นกรรมการ โดยดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานของคณะฯ และสัมภาษณ์ทีมผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้วและทีมงานกิจการนิสิต เป็นต้น พร้อมเยี่ยมชม สถานที่ การดำเนินงานภายในคณะ และได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดแข็ง และโอกาสในการพัฒนาคณะฯ ต่อไป
Credit: ผศ.ดร.บังอร ประจันบาล

คณะเทคโนโลยีการเกาตรเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตรเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 ) 📍ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุม

เมื่อวันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ. 2566
ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว พร้อมด้วย ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ เข้าร่วม การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 )
📍ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุมชนและสังคมภายใต้โครงการเกษตรอาหารกลางวัน ประจำปี 2566 ร่วมกับผู้บริหารของหน่วยงานพันธมิตร ซึ่งเป็นหนึ่งของการสร้างเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการ โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ทำงานร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมการดำเนินงานมาแล้ว 2 ปี นั้น ทำให้เห็นความก้าวหน้าและการพัฒนากิจกรรมของโครงการฯ
ซึ่งในปี 2566 มีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วม จำนวน 43 แห่ง ทั้งนี้มีครูผู้ดูแลโครงการ ผู้บริหารทุกภาคส่วนร่วม ระดมความคิดเห็น จำนวน 100 ท่าน รวมถึงองค์ความรู้ที่เด็กนักเรียนในโครงการจะได้รับการถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและแนวทางการเลือกศึกษาต่อในอนาคต เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน เพิ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร
📍โดยการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้มีการระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานโครงการฯ และนำเสนอ 3 หัวข้อ คือ
👉 1) การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมและเทคโนโลยีของโครงการฯ
👉 2) ผลลัพธ์ของโครงการฯ นำไปสู่โภชนาการที่ดีของเด็กในโรงเรียน
👉 และ 3) ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ที่ส่งผลต่อโรงเรียนและชุมชนที่ได้รับจากโครงการฯ
ซึ่งผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของกิจกรรมในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการทำงานของโครงการในปีต่อไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตรประกาศรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี TCAS67 รอบPortfolio ระหว่างวันที่ 25 ต.ค.66 ถึง 27พ.ย.66

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567

✨สมัครเรียนรอบ TCAS67
TCAS 1 : Portfolio
วันที่ 25 ต.ค. 66 – 27 พ.ย. 66
📍คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567
**ภาคปกติ รับวุฒิ ม.6 ปวช.หรือเทียบเท่า
**ภาคปกติ (หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน) (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) รับวุฒิ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า
-สมัครผ่านเวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://e-admission.buu.ac.th
-รายละเอียดระเบียบการสมัคร : https://regservice.buu.ac.th
-หลักสูตรที่เปิดสอน
• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
• สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (วท.บ.)
👉สอบถามข้อมูลสาขาวิชาโดยตรงได้ที่:
-สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์)
ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ(โทร 089-490-5896)
-สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม (โทร 086-746-2377)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี 7 แห่ง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว 🌟
ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี 2566
ณ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี 7 แห่ง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว 🌟ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี ๒๕๖๖ ในวันที่ ๑๘-๑๙ ก.ย. พ.ศ.๒๕๖๖ ณ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ๗ แห่ง (รร.บ้านม่วงฝ้าย, รร.วัดเขาวง, รร.วัดหนองสุทธะ, รร.วัดศรีจอมทอง, รร.บ้านซับครก, รร.วัดตรีบุญญาราม และรร.บ้านพุซาง
✨เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก ประโยชน์ของวัสดุปลูกแต่ละชนิดทั้งการปลูกแบบใช้ดินและแบบไฮโดรโพนิกส์ (hydroponics) ประเภทของปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารในมูลสัตว์ นอกจากนี้นักเรียนยังได้ฝึกปฏิบัติการตรวจค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) ในดินและน้ำด้วยตนเอง และจำแนกเมล็ดพันธุ์พืชจากลักษณะรูปร่าง ขนาด และสี สร้างแรงจูงใจการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ให้แก่เด็กนักเรียนจากการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการปรับสภาพดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมในเบื้องต้นได้ดียิ่งขึ้น 🌱☘️
🌿ทั้งนี้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับประโยชน์จากผลผลิตที่เกิดขึ้นและกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย นำไปสู่การผลิตและจำหน่ายที่ยั่งยืนต่อไป โดยมีผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ เป็นวิทยากรในกิจกรรมโครงการฯ

นิสิตชั้นปีที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร รายวิชาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร ฝึกการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช

การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

นิสิตชั้นปีที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร รายวิชาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร ฝึกการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถสอบถามได้ที่ โทร 092-9604087
FACE BOOK : คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา
หรือ line id : 9158nan

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงเรียนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 8 แห่ง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ๘ แห่ง

เมื่อวันที่ 11-12 ก.ย. พ.ศ.2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงเรียนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ๘ แห่ง (รร.บ้านซับชะอม รร.บ้านธารทองแดง รร.พระพุทธบาท รร.ท้ายพิกกุล รร.วัดตาลเสี้ยน รร.วัดหนองคณฑี (พลานุกูล) รร.บ้านพุกร่าง และรร.วัดบ้านโพธิ์ (มิตรภาพที่ 132) โดยมีผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ เป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรม โดยเด็กนักเรียนได้ทราบถึงความสำคัญของดินในการเพาะปลูกพืชผัก ประโยชน์ของวัสดุปลูกแต่ละชนิด ธาตุอาหารในมูลสัตว์ การจำแนกเมล็ดพันธุ์พืชจากลักษณะรูปร่าง ขนาด และสี ซึ่งเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการตรวจค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) ในดิน ทำให้มีความตระหนักและเข้าใจในการปรับปรุงดินสำหรับการเพาะปลูกพืชผักได้ดียิ่งขึ้น