กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม
Credit: ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติในการเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่

📌เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติในการเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่🐥ในระดับที่สามารถปฏิบัติได้จริงให้เกษตรกรผู้พิการพื้นที่อ.ตาพระยา ร่วมกับผู้ประสานงานสำนักงานโคเออร์อรัญประเทศ ณ รพ.สต.นางาม อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว จำนวน ๒๓ คน ให้กับสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) และมูลนิธิหอการค้าไทย
🐤🐔🥚หัวข้อการอบรมครอบคลุมด้านการจัดการเลี้ยงและการให้อาหาร วัตถุดิบทีเป็นแหล่งพลังงานและโปรตีนที่สำคัญ การปรับใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น แนวทางการใช้พืชสมุนไพรในอาหารไก่ไข่ ฝึกปฏิบัติการการผสมอาหารและคำนวณสูตรอาหารอย่างง่าย การปลูกพืชอาหารสัตว์และสมุนไพรท้องถิ่นสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ โรคและการป้องกัน สุขาภิบาลในไก่ไข่ ตลอดจนสาธิตการปรับใช้วัตถุดิบอื่นๆ หรือพืชอาหารสัตว์ในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย สำหรับเป็นแนวทางในการลดต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้เป็นของตนเอง 🐣
👉นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรม ได้เข้าศึกษาดูงานฟาร์มไก่ไข่ตัวอย่าง ณ โรงเรียนคลองยางนุสรณ์ ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว โดยมีคุณครู กมลพร อัตวานิช เป็นวิทยากรในการให้ความรู้การจัดการโรงเรือน การปรับใช้วัสดุต่างๆ การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์การทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ของตนเอง และการใช้พืชท้องถิ่นเป็นอาหารเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 🌽🌿
✅โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับพันธุ์ไก่ไข่จำนวน ๗๐ ตัว จากสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) และมูลนิธิหอการค้าไทย เพื่อนำไปประกอบอาชีพ เกิดเป็นรายได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในด้านการเคลื่อนไหวและได้รับการฟื้นฟูแรงใจ
📈และในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ คณะทำงานได้ติดตามและประเมินผลการเลี้ยงไก่ไข่ของผู้เข้ารับการอบรม ร่วมกับผู้ประสานงาน (สำนักงานโคเออร์อรัญประเทศ) โดยผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้จากการอบรมและศึกษาดูงาน มาใช้จริงในฟาร์มของตนเอง อาทิ การปลูกหญ้าเนเปียร์ หญ้าหวาน การขยายแหนแดง การใช้กระถิน หยวกกล้วย หรือสมุนไพร พร้อมพูดคุยถึงปัญหาที่อาจพบ เช่น ระยะการให้ไข่ โรคและแนวทางการรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ

🎯ปฏิบัติการเรียนรู้หญ้าเนเปียร์หมัก
🌱🌿🌳คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ได้มีการจัดการเรียนวิชาทักษะเกษตรพื้นฐาน มีการเรียนรู้ปฏิบัติการทำหญ้าหมักจากหญ้าเนเปียร์ 🚜👨🏼‍🌾👩🏻‍🌾
👉โดยมี ผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ ให้ความรู้การทำหญ้าหมักเป็นอาหารสัตว์ นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการตัดหญ้าเนเปียร์ที่อายุประมาณ 60 วัน ☀️🌤️ ผึ่งลดความชื้นให้เหลือประมาณ 65-75 % หั่นเป็นชิ้นๆ ขนาด 1 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสับ จากนั้นบรรจุลงในภาชนะถังพลาสติคที่มีฝาปิดล็อค อัดให้แน่น เก็บในที่ร่มประมาณ 21 วัน จะได้หญ้าหมักที่ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์ มีกลิ่นหอมเปรี้ยวอ่อนๆ สีเหลืองอมเขียว เนื้อไม่เละหรือเป็นเมือก สามารถเปิดและนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ 🐃🐄🐂🤩
Credit: ดร. ประทีป อูปแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ

⏰คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
🎉📈รายวิชา-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร
(Plant Tissue Culture of Economic Plants and Herbs)
(75 ชั่วโมง) (ทฤษฎี 15 ชั่วโมง, ปฏิบัติ 60 ชั่วโมง) 3,500 บาท เรียน เสาร์-อาทิตย์ 9.00 – 16.00 น.
-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพรที่เน้นการปฏิบัติจริงเหมาะสำหรับบุคคลทุกกลุ่ม โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ ไม้ดอก และไม้ประดับที่มีมูลค่าสูง
————————————————–
👉อาจารย์ผู้สอนรายวิชา/ชุดวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ ลักษณะ
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 7 คน
📲☎สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang

คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ

⏰คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
🌟รายวิชา-เทคโนโลยีโปรตีนในสัตว์เศรษฐกิจ (Protein Technology in economic animals)
(45 ชั่วโมง-(ทฤษฎี 45 ชั่วโมง) 3,000 บาท เรียน อังคาร 16.00 – 19.00 น. (จำนวน 3 หน่วยกิต)
🐠รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา-การจัดจำแนกโปรตีน สกัดแยกโปรตีนและเปปไทด์ วิเคราะห์โปรตีน แหล่งโปรตีนจากสัตว์เศษฐกิจ และประยุกต์ใช้เทคนิคโปรติโอมิกส์ในการผลิตสัตว์
👉อาจารย์ผู้สอนรายวิชา/ชุดวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร ประจันบาล
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 20 คน
☎️📲สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang
**การรับสมัคร TCAS รอบ 1 มีรายละเอียดโครงการที่เปิดรับสมัคร ดังนี้
1. โครงการที่เปิดรับสมัคร TCAS 1.1 >>ตรวจสอบที่ https://regservice.buu.ac.th/tcas68-1-1.html
เปิดรับสมัครวันที่ 1 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2567
2. โครงการที่เปิดรับสมัคร TCAS 1.2 >>ตรวจสอบที่ https://regservice.buu.ac.th/tcas68-1-2.html
เปิดรับสมัครวันที่ 7 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2567
 

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”
ในรายวิชา “การวิเคราะห์อาหารและผลิตภัณฑ์”
สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
Credit: ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริญ

กิจกรรมการเรียนการสอนวิชา จุลชีววิทยา หัวข้อ การย้อมแกรมแบคทีเรีย ของนิสิตชั้นปีที่ 2

กิจกรรมการเรียนการสอนวิชา จุลชีววิทยา หัวข้อ การย้อมแกรมแบคทีเรีย ของนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
Credit ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์

กิจกรรมการคำนวณสูตรอาหารสำหรับแพะเนื้อ -โคนม-โคเนื้อ

กิจกรรมการคำนวณสูตรอาหารสำหรับแพะเนื้อ -โคนม-โคเนื้อ โดยวิธี ลองผิดลองถูก (Trial and error) และวิธี Criss Cross รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต้องทราบในการผลิตอาหารสัตว์ เช่นปริมาณโภชนะในวัตถุดิบอาหาร ข้อจำกัดในการใช้วัตถุดิบแต่ละชนิด และความต้องการโภชนะของสัตว์นั้นๆ ของนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร

กิจกรรมแนะแนวการเข้าศึกษาต่อคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ณ โรงเรียนวัฒนานคร ในวันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ.2567

🎉📌กิจกรรมแนะแนวการเข้าศึกษาต่อคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ณ โรงเรียนวัฒนานคร ในวันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ.2567 โดยมีผศ.ดร.บังอร ประจันบาล และอ.ดร.จิรัชยา ยีมิน อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร แนะนำการสมัครเรียน TCAS68 (รอบ TCAS 1: รอบ Portfolio) การแนะนำหลักสูตร หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระยะสั้นเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต และแนวทางการเตรียมตัวก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ร่วมกับอ.ดร.วีรภัทร พุกกะมาน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนางสุกัญญา ผิวนวล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา และนางสาวประภัสสร พุฒพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ กองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา
>> 🥳📝และพี่ๆ นิสิตสาขานวัตกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2 นางสาวพิมพ์ชนก ตะเภาพงษ์ (พี่พิมพ์), นางสาวผกาวรรณ บุญเจือจันทร์ (พี่มุก) และ นางสาวกฤติกาวรรณ สุขเสมอ (พี่บีม) ร่วมกิจกรรมพบน้องๆ มัธยมปลาย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการเรียนต่างๆ หลักสูตรที่เรียน แนะนำผลิตผลทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร กิจกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบรรยากาศการเรียนและการปรับตัวในรั้วมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมแนะแนวการเข้าศึกษาต่อคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ณ โรงเรียนอรัญประเทศ

🎉📌กิจกรรมแนะแนวการเข้าศึกษาต่อคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ณ โรงเรียนอรัญประเทศ ในวันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ.2567 โดยมีผศ.ดร.กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร และผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม อาจารย์ประจำหลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร แนะนำการสมัครเรียน TCAS68 (รอบ TCAS 1: รอบ Portfolio) การแนะนำหลักสูตร หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระยะสั้นเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต และแนวทางการเตรียมตัวก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ร่วมกับอ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์ อ.ภานุมาศ ฉัตรพิทักษ์โชค อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนางสุกัญญา ผิวนวล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา และนางสาวประภัสสร พุฒพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ กองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา
>> 🥳📝และพี่ๆ นิสิตสาขานวัตกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2 นายธนากร นิลประดับ (พี่กัปตัน) และนายวิชญ์พล จรมั่งนอก (พี่เฟรม) ร่วมกิจกรรมพบน้องๆ มัธยมปลาย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการเรียนต่างๆ หลักสูตรที่เรียน แนะนำผลิตผลทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร กิจกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบรรยากาศการเรียนและการปรับตัวในรั้วมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว