คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ ณ จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร

📍เมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2567
🔹 อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อ.ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และผศ.ดร.สมคิด ใจตรง อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปี 2567 ร่วมกับ ผศ.ดร.พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ รักษาแทนผู้จัดการฟาร์มมหาวิทยาลัย และผู้บริหารกลุ่มบริษัท คาร์กิลล์ฯ นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ ผู้อำนวยการภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร
🔹ในการรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมการเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ปีพ.ศ. 2566 และแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ ในปีพ.ศ. 2567 ณ โรงแรมแคนทารี่ โฮเทล แอนด์ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มบริษัทคาร์กิลล์ฯ ยินดีร่วมดำเนินการโครงการกิจกรรมเกษตรเพื่อสังคม (CSR) ต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2567 และพ.ศ. 2568 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ ร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Corporate BCG and Sufficient Economy Model

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับคณะโลจิสติกส์ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะโลจิสติกส์ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model นำโดย
– รองศาตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์
– ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะโลจิสติกส์ ร่วมกิจกรรมเดินตามรอยปราชญ์เกษตร การเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะมีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนของหลักสูตรแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรได้ โดยริเริ่มจากกระบวนการการเรียนรู้การผลิตและการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากพืชเศรษฐกิจ แล้วนำหลักการดังกล่าวไป เพิ่มคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในครั้งนี้ มีกิจกรรมลงแปลงเกษตรเพื่อเตรียมหน้าดิน ลงต้นอ่อนเพื่อเพาะปลูกพืชสมุนไพรสรรพคุณชะลอวัย มีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายอาการเหนื่อยล้า “ว่านโปร่งฟ้า” และกิจกรรมสุดพิเศษส่งท้าย กิจกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง (Sorghum) พืชทนร้อนทดแดดเหมาะกับสภาพอากาศของไทย เพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาผลิตเป็นมอลต์เพื่อผลิตคราฟต์เบียร์ข้าวฟ่าง (Craft Beer)
โดยโครงการฯ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 โปรดติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจใน Episode ต่อไปค่ะ ♥

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์
ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช เข้าร่วมติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ดร.ภญ.ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะ โดยเข้าติดตาม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดตามเพื่อรับฟังปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่กลุ่มฯ ผลิตได้ตามเงื่อนไขเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตยาสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง กับ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง
กับศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช และคณบดีคณะโลจิสติกส์ รองศาสตราจารย์ ดร. ณกร อินทร์พยุงและรองคณบดีคณะโลจิสติกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล  เข้าพบ คุณวัลลีย์ อมรพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อทราบทิศทางการศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง

คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมด้วย อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย รวมทั้งได้ประชุมหารือเพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อน
และเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วยอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว
เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล
และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช พร้อมด้วยรองคณบดี ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ได้ต้อนรับ Prof. Oleg Shovkovyy อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทำงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง ด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร
👉 นอกจากนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันในอนาคต