The Faculty of Agricultural Technology at Burapha University, Sa Kaeo Campus, in collaboration with Suranaree University of Technology and Cargill Meats (Thailand) Co., Ltd., is driving activities aligned with the Sustainable Development Goals (SDGs) under the “Lunch Agricultural Project.”

   The Faculty of Agricultural Technology at Burapha University, Sa Kaeo Campus, in collaboration with Suranaree University of Technology and Cargill Meats (Thailand) Co., Ltd., is driving activities aligned with the Sustainable Development Goals (SDGs) under the “Lunch Agricultural Project.” This initiative is implemented at 15 primary schools in Phra Phutthabat and Sao Hai Districts, Saraburi Province, with a focus on safety, responsibility, and sustainability. The project aims to promote healthy eating habits among younger generations, enhance students’ health and well-being, and ensure access to nutritious food.

 

Objectives of the Project:

  1. To enable participating schools to benefit from agricultural outputs, learning processes, and access to safe food.
  2. To foster integration between government agencies, private organizations, and educational institutions for sustainable development.
  3. To introduce modern agricultural learning processes by leveraging innovation and technology for optimal outcomes.
  4. To ensure food security at the school level.
  5. To inspire young students to pursue quality agriculture, encouraging sustainable production and distribution cycles.

        The project provides training and knowledge transfer on agricultural practices, including hydroponic vegetable cultivation and safe soil-based vegetable planting. Primary schools in Phra Phutthabat and Sao Hai Districts, Saraburi Province, are provided with agricultural equipment, tools, and materials such as seeds to enable hands-on learning for teachers and students.

The project team also offers guidance, monitoring, and problem-solving support throughout the implementation process. These activities help stimulate students’ interest in farming, allowing them to apply the acquired knowledge and skills in real-world scenarios. Furthermore, primary school students involved in the project can share their expertise with their families, potentially contributing to supplementary household income.

Project Leader: Asst. Prof. Dr. Supreena Srisaikham, Faculty of Agricultural Technology

https://sustainability.buu.ac.th/web2023/?page_id=7751

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 มหาลัยบูรพา วิทยาเขต สระแก้ว ได้เข้าร่วมโครงการ ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และโครงการหน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จังหวัดสระแก้ว (จังหวัดเคลื่อนที่) ประจำเดือน ตุลาคม 2567

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 มหาลัยบูรพา วิทยาเขต สระแก้ว ได้เข้าร่วมโครงการ ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และโครงการหน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จังหวัดสระแก้ว (จังหวัดเคลื่อนที่) ประจำเดือน ตุลาคม 2567 โดยมี นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด

กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในรายวิชา จุลชีววิทยาสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร (Microbiology for Agro-Industrial Product Development) เรียนรู้กระบวนการทำกิมจิ โดย ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม
Credit: ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติในการเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่

📌เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติในการเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่🐥ในระดับที่สามารถปฏิบัติได้จริงให้เกษตรกรผู้พิการพื้นที่อ.ตาพระยา ร่วมกับผู้ประสานงานสำนักงานโคเออร์อรัญประเทศ ณ รพ.สต.นางาม อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว จำนวน ๒๓ คน ให้กับสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) และมูลนิธิหอการค้าไทย
🐤🐔🥚หัวข้อการอบรมครอบคลุมด้านการจัดการเลี้ยงและการให้อาหาร วัตถุดิบทีเป็นแหล่งพลังงานและโปรตีนที่สำคัญ การปรับใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น แนวทางการใช้พืชสมุนไพรในอาหารไก่ไข่ ฝึกปฏิบัติการการผสมอาหารและคำนวณสูตรอาหารอย่างง่าย การปลูกพืชอาหารสัตว์และสมุนไพรท้องถิ่นสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ โรคและการป้องกัน สุขาภิบาลในไก่ไข่ ตลอดจนสาธิตการปรับใช้วัตถุดิบอื่นๆ หรือพืชอาหารสัตว์ในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย สำหรับเป็นแนวทางในการลดต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้เป็นของตนเอง 🐣
👉นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรม ได้เข้าศึกษาดูงานฟาร์มไก่ไข่ตัวอย่าง ณ โรงเรียนคลองยางนุสรณ์ ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว โดยมีคุณครู กมลพร อัตวานิช เป็นวิทยากรในการให้ความรู้การจัดการโรงเรือน การปรับใช้วัสดุต่างๆ การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์การทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ของตนเอง และการใช้พืชท้องถิ่นเป็นอาหารเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 🌽🌿
✅โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับพันธุ์ไก่ไข่จำนวน ๗๐ ตัว จากสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) และมูลนิธิหอการค้าไทย เพื่อนำไปประกอบอาชีพ เกิดเป็นรายได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในด้านการเคลื่อนไหวและได้รับการฟื้นฟูแรงใจ
📈และในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ คณะทำงานได้ติดตามและประเมินผลการเลี้ยงไก่ไข่ของผู้เข้ารับการอบรม ร่วมกับผู้ประสานงาน (สำนักงานโคเออร์อรัญประเทศ) โดยผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้จากการอบรมและศึกษาดูงาน มาใช้จริงในฟาร์มของตนเอง อาทิ การปลูกหญ้าเนเปียร์ หญ้าหวาน การขยายแหนแดง การใช้กระถิน หยวกกล้วย หรือสมุนไพร พร้อมพูดคุยถึงปัญหาที่อาจพบ เช่น ระยะการให้ไข่ โรคและแนวทางการรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ

🎯ปฏิบัติการเรียนรู้หญ้าเนเปียร์หมัก
🌱🌿🌳คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ได้มีการจัดการเรียนวิชาทักษะเกษตรพื้นฐาน มีการเรียนรู้ปฏิบัติการทำหญ้าหมักจากหญ้าเนเปียร์ 🚜👨🏼‍🌾👩🏻‍🌾
👉โดยมี ผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ ให้ความรู้การทำหญ้าหมักเป็นอาหารสัตว์ นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการตัดหญ้าเนเปียร์ที่อายุประมาณ 60 วัน ☀️🌤️ ผึ่งลดความชื้นให้เหลือประมาณ 65-75 % หั่นเป็นชิ้นๆ ขนาด 1 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสับ จากนั้นบรรจุลงในภาชนะถังพลาสติคที่มีฝาปิดล็อค อัดให้แน่น เก็บในที่ร่มประมาณ 21 วัน จะได้หญ้าหมักที่ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์ มีกลิ่นหอมเปรี้ยวอ่อนๆ สีเหลืองอมเขียว เนื้อไม่เละหรือเป็นเมือก สามารถเปิดและนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ 🐃🐄🐂🤩
Credit: ดร. ประทีป อูปแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ

⏰คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วข.สระแก้ว เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
🎉📈รายวิชา-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร
(Plant Tissue Culture of Economic Plants and Herbs)
(75 ชั่วโมง) (ทฤษฎี 15 ชั่วโมง, ปฏิบัติ 60 ชั่วโมง) 3,500 บาท เรียน เสาร์-อาทิตย์ 9.00 – 16.00 น.
-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพรที่เน้นการปฏิบัติจริงเหมาะสำหรับบุคคลทุกกลุ่ม โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ ไม้ดอก และไม้ประดับที่มีมูลค่าสูง
————————————————–
👉อาจารย์ผู้สอนรายวิชา/ชุดวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ ลักษณะ
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 7 คน
📲☎สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang

คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ

⏰คณะเทคโนโลยีการเกษตร เปิดรับสมัครรายวิชาลงเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมในระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ
🌟รายวิชา-เทคโนโลยีโปรตีนในสัตว์เศรษฐกิจ (Protein Technology in economic animals)
(45 ชั่วโมง-(ทฤษฎี 45 ชั่วโมง) 3,000 บาท เรียน อังคาร 16.00 – 19.00 น. (จำนวน 3 หน่วยกิต)
🐠รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา-การจัดจำแนกโปรตีน สกัดแยกโปรตีนและเปปไทด์ วิเคราะห์โปรตีน แหล่งโปรตีนจากสัตว์เศษฐกิจ และประยุกต์ใช้เทคนิคโปรติโอมิกส์ในการผลิตสัตว์
👉อาจารย์ผู้สอนรายวิชา/ชุดวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร ประจันบาล
เปิดวิชาเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 20 คน
☎️📲สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม: การสมัครเรียนหลักสูตรระยะสั้นทุกรายวิชาได้ที่ ผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ (โทร 094-380-3663) Add Line ID: onsulang
**การรับสมัคร TCAS รอบ 1 มีรายละเอียดโครงการที่เปิดรับสมัคร ดังนี้
1. โครงการที่เปิดรับสมัคร TCAS 1.1 >>ตรวจสอบที่ https://regservice.buu.ac.th/tcas68-1-1.html
เปิดรับสมัครวันที่ 1 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2567
2. โครงการที่เปิดรับสมัคร TCAS 1.2 >>ตรวจสอบที่ https://regservice.buu.ac.th/tcas68-1-2.html
เปิดรับสมัครวันที่ 7 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2567
 

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และ ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ และ ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะ
ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Trends in Sciences ตีพิมพ์เผยแพร่ ปี ค.ศ. 2024 ฉบับที่ 9 หน้า 8060 ที่อยู่ในฐานข้อมูล SJR/JCR Q3 ด้าน Agriculture
————————————————-
ข้อมูลงานวิจัยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Reference: BUU Research

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”

ปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์”
ในรายวิชา “การวิเคราะห์อาหารและผลิตภัณฑ์”
สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
Credit: ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริญ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายสิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร นำทีมผู้บริหาร และคณาจารย์ ร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะเทคโนโลยีการเกษตรและโรงเรียนสระแก้วเพื่อพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรด้านการเกษตรสมัยใหม่

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายสิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร นำทีมผู้บริหาร และคณาจารย์ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ผศ.ดร.นงนุช ศรีสุข นางสุกัญญา ผิวนวล ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ และผศ.ดร.อรสุรางค์ โสภิพันธ์ เข้าพบ นางจุฑามาส เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้อำนวยการโรงเรียนสระแก้วและคณะคุณครู เพื่อร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะเทคโนโลยีการเกษตรและโรงเรียนสระแก้วเพื่อพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรด้านการเกษตรสมัยใหม่ โดยนำเสนอหลักสูตรสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) และหลักสูตรระยะสั้น (Short Courses) ในการสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมปลายปีที่ 4 นำไปสู่การมีเป้าหมายการเรียนและการทำงานด้านการเกษตรที่ชัดเจนในอนาคต
ทั้งนี้โรงเรียนสระแก้วเป็นศูนย์แนะแนวประจำจังหวัดสระแก้วประกอบด้วยโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด 14 แห่ง ซึ่งในการประชุมได้หารือถึงแนวทางการทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วกับโรงเรียนในจังหวัดสระแก้วทั้ง 14 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนในจังหวัดสระแก้ว และพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา ต่อยอดไปสู่งานวิจัยร่วมกัน