คณะเทคโนโลยีการเกษตรเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 ) 📍ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุม
เมื่อวันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ. 2566
ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว พร้อมด้วย ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ เข้าร่วม การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการเกษตรอาหารกลางวันให้โรงเรียน ประจำปี 2566 ณ โรงแรมชาโตเดอ เขาใหญ่ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในปี 2567 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) สอดรับกับหลักการของสหประชาชาติ 7 ประการ (SDGs 1, 2, 3, 4, 10, 12, 17 )
ในพิธีเปิดโครงการฯ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการทำงานเกี่ยวกับชุมชนและสังคมภายใต้โครงการเกษตรอาหารกลางวัน ประจำปี 2566 ร่วมกับผู้บริหารของหน่วยงานพันธมิตร ซึ่งเป็นหนึ่งของการสร้างเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการ โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ทำงานร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมการดำเนินงานมาแล้ว 2 ปี นั้น ทำให้เห็นความก้าวหน้าและการพัฒนากิจกรรมของโครงการฯ
ซึ่งในปี 2566 มีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วม จำนวน 43 แห่ง ทั้งนี้มีครูผู้ดูแลโครงการ ผู้บริหารทุกภาคส่วนร่วม ระดมความคิดเห็น จำนวน 100 ท่าน รวมถึงองค์ความรู้ที่เด็กนักเรียนในโครงการจะได้รับการถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและแนวทางการเลือกศึกษาต่อในอนาคต เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน เพิ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร
โดยการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้มีการระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานโครงการฯ และนำเสนอ 3 หัวข้อ คือ
1) การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมและเทคโนโลยีของโครงการฯ
2) ผลลัพธ์ของโครงการฯ นำไปสู่โภชนาการที่ดีของเด็กในโรงเรียน
และ 3) ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ที่ส่งผลต่อโรงเรียนและชุมชนที่ได้รับจากโครงการฯ
ซึ่งผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของกิจกรรมในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการทำงานของโครงการในปีต่อไป