ปฏิบัติการ การแยกเนื้อและกระดูกในปลาป่น และการคาดคะเนเปอร์เซ็นต์โปรตีนในปลาป่น ในวิชาโภชนศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์

นิสิตเรียนรู้ปฏิบัติการ การแยกเนื้อและกระดูกในปลาป่น
และการคาดคะเนเปอร์เซ็นต์โปรตีนในปลาป่น
ในวิชาโภชนศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์

นิสิตเรียนรู้นอกห้องเรียนในเรื่อง ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวจากกลุ่มวิสหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านจิก อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สร้างมูลค่าเพิ่มในข้าวในพื้นที่ชุมขน มีจัดการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP การผลิตข้าวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผู้สอน ดร. ประทีป อูปแก้ว

นิสิตเรียนรู้นอกห้องเรียนในเรื่อง ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว
จากกลุ่มวิสหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านจิก อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
วิสาหกิจชุมชนที่สร้างมูลค่าเพิ่มในข้าวในพื้นที่ชุมขน
มีจัดการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP
การผลิตข้าวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ผู้สอน ดร. ประทีป อูปแก้ว

กิจกรรม HACKATHON โครงการ AGRI BCG HACKATHON 2023 สำหรับนิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้นปีที่ 1 เพื่อให้นิสิตมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการในโจทย์ “การพัฒนาการเกษตรยั่งยืนภายใต้ BCG Model”ผู้สอน ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

กิจกรรม HACKATHON
โครงการ AGRI BCG HACKATHON 2023
สำหรับนิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้นปีที่ 1
เพื่อให้นิสิตมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
ในโจทย์ “การพัฒนาการเกษตรยั่งยืนภายใต้ BCG Model”

ผู้สอน ผศ.ดร.ไกรยศ แซ่ลิ้ม

“เกษตรเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์” โดยนิสิตกลุ่มสาขานวัตกรรมการเกษตร ในการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปเบื้องต้น “ตั๊กแตนปาทังก้า” ในรายวิชา การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแมลง อาจรย์ผู็สอนโดย ผศ.ดร.เอกรัฐ คำเจริญ

“เกษตรเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์”
โดยนิสิตกลุ่มสาขานวัตกรรมการเกษตร
ในการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปเบื้องต้น
“ตั๊กแตนปาทังก้า” ในรายวิชา การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแมลง

นิสิตชั้นปีที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมการผลิตสัตย์ในกิจกรรมการเรียนการสอน การสกัดสารพันธุกรรม รายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ อาจารย์ผู้สอนโดย ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม

นิสิตชั้นปีที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมการผลิตสัตว์
ในกิจกรรมการเรียนการสอน การสกัดสารพันธุกรรม
รายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์

อาจารย์ผู้สอนโดย ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm) ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วข.สระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm)
ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์สาขาเกษตรศาสตร์
กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm) ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566
📍 โดยมีทีมวิทยากรของคูโบต้าฟาร์มถ่ายทอดให้ความรู้ตามฐานกิจกรรม ดังนี้
1. ฐานเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา 🌱🌾 เรียนรู้การทำเกษตรแม่นยำด้วยโซลูชั่นปลอดนาหว่าน (Zero Broadcast)
🌾 การเตรียมต้นกล้าข้าวที่เหมาะสมต่อรถปลูก ระบบควบคุมทิศทางอัตโนมัติด้วย GNSS สำหรับรถปลูกแบบไร้คนขับ 🚜
🛰️ การใช้โดรนบำรุงรักษาแปลงนา
🖥️ การใช้แอปพลิเคชันปฏิทินเพาะปลูกข้าว (KAS) 🌾🍚
📡 การจัดการเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมอัจฉริยะ (KIS) แผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเพื่อเป็นพลังงานให้กับปั๊มน้ำทางการเกษตร 💧
📋 การให้ปุ๋ยกับระบบน้ำแบบแม่นยำ ในการนี้นิสิตได้ทดลองบังคับโดรน ด้วยตนเองสำหรับแปลงนาสาธิต 👩‍🌾
📍 2. ฐานเกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่เพาะปลูก 10-15 ไร่ โดยมีเครื่องจักรกลทางการเกษตรช่วยในการเพาะปลูก ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต
🐓โรงเลี้ยงไก่แบบอิสระที่มุ่งเน้นผลผลิตมีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงและการใช้เครื่องจักรในการเก็บผลผลิตไข่รายวัน 🥚🐣
📍 3. ฐานยางพาราและปาล์มน้ำมัน เรียนรู้การปลูกพืชแซมระหว่างแถวปลูกของต้นปาล์มน้ำมัน หรือยางพาราเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น พืชสมุนไพรต่างๆ พริกไทย 🌶️ โกโก้ 🍫ลดต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
📍 4. ฐานนวัตกรรมพืชสวน เรียนรู้การเพาะปลูกพืชสวนและสวนผักเศรษฐกิจด้วยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
💦 📱การรดน้ำและใส่ปุ๋ยด้วยระบบแม่นยำที่นำเซ็นเซอร์และการประมวลผลแบบอัจฉริยะเข้ามาช่วยเหลือตามสภาพความต้องการของพืชที่เป็นปัจจุบัน การเพาะปลูกพืชในโรงเรือนและการเพาะปลูกพืชแนวตั้งใน Plant Factory 🍈 🪴 ระบบ Semi-Automation และนิสิตได้ทดลองย้ายกล้าผักลงแปลงด้วยรถปลูกจากประเทศญี่ปุ่น การใช้ Airbus ในการบำรุงรักษาทุเรียนและลำไย
📍 5. ฐานเกษตรสมัยใหม่พืชไร่
🌽🥔 เรียนรู้การเพาะปลูกพืชไร่ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด
📝 การแก้ไขปัญหาดินดาน ด้วยโซลูชั่นเกษตรปลอดการเผา 🌀 ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร ทั้งแบบมีคนขับและไร้คนขับ แอปพลิเคชันที่ช่วยในการเพาะปลูก คาดการณ์ผลผลิต ประเมินการจัดการในแต่ละชุดดิน ปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) 👩🏻‍🌾

กิจกรรมศึกษาดูงานฟาร์มเจ.เค.พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงาน
ฟาร์มเจ.เค. พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ
ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงานฟาร์มเจ.เค. พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566
📍โดยมีคุณสิทธิชัย จามิกรณ์ เจ้าของฟาร์มเจ.เค.พนมแรนซ์ ให้ความกรุณาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์วัวบราห์มัน ซึ่งทางฟาร์มนำเข้าพ่อแม่พันธุ์โคบราห์มันจากต่างประเทศ มีการคัดเลือกและทำพันธุ์ประวัติ (pedigree) อย่างต่อเนื่องจนได้ลักษณะโคเนื้อที่เป็นเอกลักษณ์ของฟาร์ม ประวัติพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะของโคในการประกวดโค
 โดยมี showman ของทางฟาร์มสาธิต การเลี้ยงการดูแลและการจัดการฟาร์ม การออกแบบและสร้างโรงเรือน โดยภายในฟาร์มมีการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ (หญ้าแพงโกลา) 
ไว้ใช้เองและเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาทำเป็นหญ้าแห้ง
⭐️ นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่ดูการเลี้ยงแพะที่มีนำเข้าสายพันธุ์บอร์เลือด 100 โดยทางฟาร์มได้แนะนำสายพันธุ์แพะและแกะที่เหมาะสมจะนำมาประกอบเป็นธุรกิจและการบริหารจัดการธุรกิจฟาร์มให้มีประสิทธิภาพ

นิสิตชั้นปีที่ 1 ในกิจกรรมการเรียนการสอน ชีวะคือชีวิต “พืชมีการเจริญก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องแบ่งเซลล์ ตัวแทนสวยๆ จากปลายรากหอมเล็กๆ”

นิสิตชั้นปีที่ 1 ในกิจกรรมการเรียนการสอน ชีวะคือชีวิต พืชมีการเจริญก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องแบ่งเซลล์ ตัวแทนสวยๆ จากปลายรากหอมเล็กๆ"

พืชมีการเจริญก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องแบ่งเซลล์ ตัวแทนสวยๆ จากปลายรากหอมเล็กๆ ☺️☺️# เพาะหลาย set งอก set เดียว ชีวะคือชีวิต ควบคุมไม่ค่อยได้ ต้องมีสำรองตลอด 😅😅😅# สนุกกับเจ้าป่วนน้อยปี 1 # bio lab 1/66
Credit: ผศ.ดร.กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ

ขอเชิญอุดหนุนสินค้าผัดสลัดสดๆจากนิสิต สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ขอเชิญอุดหนุนผัดสลัดจากนิสิตสาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

ขอเชิญอุดหนุนสินค้า
🟩🟩🟩🟩🟩 ราคา 30 บาท 🟩🟩🟩🟩🟩
🔴 สลัสรวมทุกถุง 🔴
ผักสลัดสดๆ 🥬🥗
-กรีนโอ๊ค
-เรสโอ๊ค
-กรีนคอส
-ฟินเล่ย์ ไอซ์เบิร์ก
จากนิสิตสาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
▶️ จุดนัดพบ ตลาดนัดวันเสาร์ (ท้ายตลาดป้าแตน)
แล้วพบกันกับพวกเรานะคร้าบบบ

คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน พ.ศ.2566
ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์
ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มอบหมายให้ ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.ภัทรภร ธรรมมะผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
.
โดย นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในเปิดพิธี ร่วมบรรยายนโยบายและ
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพร้อมให้โอวาทสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะทำงานและสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง ทั้งนี้ ดร.ณันศภรณ์ นิลอรุณ ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ดร.โสภิณ วิริยะพาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพวงคราม ดร.สท้าน วารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว และสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง เข้าร่วมพร้อมทั้งอบรมในหัวข้อ การสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มาและความสำคัญการพัฒนากรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) การสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาความสอดคล้องของกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 กับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา ตารางการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning จากโรงเรียนดรุณสิกยาลัย โรงเรียนเพลินพัฒนา และ โรงเรียนสุจิปลิ สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กิจกรรมกลุ่มสถนศึกษานำร่องที่มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนา
นวัตกรรมการศึกษาในทิศทางเดียวกันร่วมกัน จัดทำโครงสร้างรายวิชและออกแบบหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 และ สรุปผลการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหลักสูตรตามกรอบ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ท.ศ.2566
.
ในการนี้สถานศึกษ นำร่องทั้ง 73 แห่งสามารถนำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสระแก้วในเรื่องของ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 10 กลุ่มดังนี้
1) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์สำคัญและบุตคลสำคัญใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
2) เศรษฐกิจ การค้าขายแดน อาชีพและการประกอบธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว
3) การเมือง การปกครองในจังหวัดสระแก้ว
4) ประเพณีท้องถิ่นและ 5 ชนชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว
5) ธรณีวิทยา สภาพดิน สภาพน้ำและสภาพอากาศใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
6) อารยเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 10
7) AI และ Digital สำหรับการพัฒนานวัตกรรมตามบริบทเชิงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 😎 นวัตกรรมการพัฒนาภาษาไทยเพื่อการอ่านออก เขียนได้
9) ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากัมพูชา กับการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว
10) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาจังหวัดสระแก้วไปปรับใช้ในโรงเรียน