ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน พ.ศ.2566
ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์
ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มอบหมายให้ ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.ภัทรภร ธรรมมะผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
.
โดย นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในเปิดพิธี ร่วมบรรยายนโยบายและ
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพร้อมให้โอวาทสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะทำงานและสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง ทั้งนี้ ดร.ณันศภรณ์ นิลอรุณ ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ดร.โสภิณ วิริยะพาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพวงคราม ดร.สท้าน วารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว และสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง เข้าร่วมพร้อมทั้งอบรมในหัวข้อ การสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มาและความสำคัญการพัฒนากรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) การสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาความสอดคล้องของกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 กับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา ตารางการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning จากโรงเรียนดรุณสิกยาลัย โรงเรียนเพลินพัฒนา และ โรงเรียนสุจิปลิ สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กิจกรรมกลุ่มสถนศึกษานำร่องที่มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนา
นวัตกรรมการศึกษาในทิศทางเดียวกันร่วมกัน จัดทำโครงสร้างรายวิชและออกแบบหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 และ สรุปผลการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหลักสูตรตามกรอบ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ท.ศ.2566
.
ในการนี้สถานศึกษ นำร่องทั้ง 73 แห่งสามารถนำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสระแก้วในเรื่องของ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 10 กลุ่มดังนี้
1) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์สำคัญและบุตคลสำคัญใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
2) เศรษฐกิจ การค้าขายแดน อาชีพและการประกอบธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว
3) การเมือง การปกครองในจังหวัดสระแก้ว
4) ประเพณีท้องถิ่นและ 5 ชนชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว
5) ธรณีวิทยา สภาพดิน สภาพน้ำและสภาพอากาศใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
6) อารยเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 10
7) AI และ Digital สำหรับการพัฒนานวัตกรรมตามบริบทเชิงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 😎 นวัตกรรมการพัฒนาภาษาไทยเพื่อการอ่านออก เขียนได้
9) ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากัมพูชา กับการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว
10) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาจังหวัดสระแก้วไปปรับใช้ในโรงเรียน