คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Project: “Farmer Project”
: Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability)
รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ
ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
และนายไสว ศรีไสย ตำแหน่ง Corporate Responsibility Manager Global Communications Corporate Responsibility บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

ภาพบรรยากาศโครงการทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ประจำปีการศึกษา 2566 จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องยุวถาวร ชั้น 3 อาคารเทียนทอง

ภาพบรรยากาศโครงการทำบุญ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ประจำปีการศึกษา 2566

จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2566
ณ ห้องยุวถาวร ชั้น 3 อาคารเทียนทอง โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต ศิษย์เก่า
และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา เดินหน้ายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ “ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (203)” และ “ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (303-1)” คณะเทคโนโลยีการเกษตร ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา
เดินหน้ายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
“ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (203)”
และ “ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (303-1)”
ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ

ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรเข้าร่วมโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับผู้บริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ.2566

มหาวิทยาลัยบูรพาจัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต
สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ. 2566

มหาวิทยาลัยบูรพาจัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ. 2566 
 
👉👉👉มหาวิทยาลัยบูรพา โดยกองบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลร่วมกับสำนักบริการวิชาการ จัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อ่าวนาง บีช รีสอร์ท จ.กระบี่ โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานการจัดโครงการฯ
รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี กล่าวว่า การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้บริหารในองค์กร รวมถึงการปฏิรูประบบอุดมศึกษา การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะคณาจารย์ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่เวทีโลก รวมถึงการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากส่วนงานต่าง ๆ มีผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยเน้นการวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมโยงกับทิศทางการอุดมศึกษา ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
ภายในโครงการมีการบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน ความซ้ำซ้อน และความคุ้มค่า” โดย รศ.ดร.สมถวิล จริตควร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และทีม การบรรยายเรื่อง “สถานการณ์ปัจจุบันกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย ผศ.ดร.สวามินี ธีระวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย และทีม การบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง เรื่อง “การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร พิชยดนย์ ผู้อำนวยการศูนย์อนาคตเชิงกลยุทธ์และการวิจัยเชิงระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง เรื่อง “การคาดการณ์อนาคตเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์” โดย ดร.ธีระวุฒิ พิชญสัจจา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แกรนด์ เคมีเคิล ฟาร์อีสต์
การจัดโครงการครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูงขอมหาวิทยาลัยทุกส่วนงานเข้าร่วมเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และประยุกต์กรอบแนวคิดตามกระบวนการของ OKRs ที่เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัย รวมทั้งขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ได้ร่วมกัน

สโมสรนิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดโครงการ AGGIE NIGHT ประจำปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

สโมสรนิสิตคณะเทคโนโลยีการเกษตร
จัดโครงการ AGGIE NIGHT ประจำปีการศึกษา 2566
ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm) ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วข.สระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm)
ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์สาขาเกษตรศาสตร์
กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566

กิจกรรมศึกษาดูงานคูโบต้าฟาร์ม (Kubota Farm) ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566
📍 โดยมีทีมวิทยากรของคูโบต้าฟาร์มถ่ายทอดให้ความรู้ตามฐานกิจกรรม ดังนี้
1. ฐานเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา 🌱🌾 เรียนรู้การทำเกษตรแม่นยำด้วยโซลูชั่นปลอดนาหว่าน (Zero Broadcast)
🌾 การเตรียมต้นกล้าข้าวที่เหมาะสมต่อรถปลูก ระบบควบคุมทิศทางอัตโนมัติด้วย GNSS สำหรับรถปลูกแบบไร้คนขับ 🚜
🛰️ การใช้โดรนบำรุงรักษาแปลงนา
🖥️ การใช้แอปพลิเคชันปฏิทินเพาะปลูกข้าว (KAS) 🌾🍚
📡 การจัดการเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมอัจฉริยะ (KIS) แผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเพื่อเป็นพลังงานให้กับปั๊มน้ำทางการเกษตร 💧
📋 การให้ปุ๋ยกับระบบน้ำแบบแม่นยำ ในการนี้นิสิตได้ทดลองบังคับโดรน ด้วยตนเองสำหรับแปลงนาสาธิต 👩‍🌾
📍 2. ฐานเกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่เพาะปลูก 10-15 ไร่ โดยมีเครื่องจักรกลทางการเกษตรช่วยในการเพาะปลูก ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต
🐓โรงเลี้ยงไก่แบบอิสระที่มุ่งเน้นผลผลิตมีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงและการใช้เครื่องจักรในการเก็บผลผลิตไข่รายวัน 🥚🐣
📍 3. ฐานยางพาราและปาล์มน้ำมัน เรียนรู้การปลูกพืชแซมระหว่างแถวปลูกของต้นปาล์มน้ำมัน หรือยางพาราเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น พืชสมุนไพรต่างๆ พริกไทย 🌶️ โกโก้ 🍫ลดต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
📍 4. ฐานนวัตกรรมพืชสวน เรียนรู้การเพาะปลูกพืชสวนและสวนผักเศรษฐกิจด้วยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
💦 📱การรดน้ำและใส่ปุ๋ยด้วยระบบแม่นยำที่นำเซ็นเซอร์และการประมวลผลแบบอัจฉริยะเข้ามาช่วยเหลือตามสภาพความต้องการของพืชที่เป็นปัจจุบัน การเพาะปลูกพืชในโรงเรือนและการเพาะปลูกพืชแนวตั้งใน Plant Factory 🍈 🪴 ระบบ Semi-Automation และนิสิตได้ทดลองย้ายกล้าผักลงแปลงด้วยรถปลูกจากประเทศญี่ปุ่น การใช้ Airbus ในการบำรุงรักษาทุเรียนและลำไย
📍 5. ฐานเกษตรสมัยใหม่พืชไร่
🌽🥔 เรียนรู้การเพาะปลูกพืชไร่ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด
📝 การแก้ไขปัญหาดินดาน ด้วยโซลูชั่นเกษตรปลอดการเผา 🌀 ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร ทั้งแบบมีคนขับและไร้คนขับ แอปพลิเคชันที่ช่วยในการเพาะปลูก คาดการณ์ผลผลิต ประเมินการจัดการในแต่ละชุดดิน ปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) 👩🏻‍🌾

กิจกรรมศึกษาดูงานฟาร์มเจ.เค.พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงาน
ฟาร์มเจ.เค. พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ
ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์
และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

กิจกรรมศึกษาดูงานฟาร์มเจ.เค. พนมแรนซ์ ฟาร์มผลิตพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ ของนิสิตกลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ และกลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. พ.ศ.2566
📍โดยมีคุณสิทธิชัย จามิกรณ์ เจ้าของฟาร์มเจ.เค.พนมแรนซ์ ให้ความกรุณาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์วัวบราห์มัน ซึ่งทางฟาร์มนำเข้าพ่อแม่พันธุ์โคบราห์มันจากต่างประเทศ มีการคัดเลือกและทำพันธุ์ประวัติ (pedigree) อย่างต่อเนื่องจนได้ลักษณะโคเนื้อที่เป็นเอกลักษณ์ของฟาร์ม ประวัติพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะของโคในการประกวดโค
 โดยมี showman ของทางฟาร์มสาธิต การเลี้ยงการดูแลและการจัดการฟาร์ม การออกแบบและสร้างโรงเรือน โดยภายในฟาร์มมีการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ (หญ้าแพงโกลา) 
ไว้ใช้เองและเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาทำเป็นหญ้าแห้ง
⭐️ นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่ดูการเลี้ยงแพะที่มีนำเข้าสายพันธุ์บอร์เลือด 100 โดยทางฟาร์มได้แนะนำสายพันธุ์แพะและแกะที่เหมาะสมจะนำมาประกอบเป็นธุรกิจและการบริหารจัดการธุรกิจฟาร์มให้มีประสิทธิภาพ

คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน พ.ศ.2566
ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์
ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มอบหมายให้ ดร. สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.ภัทรภร ธรรมมะผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว เข้าร่วมพิธีเปิดและประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมศานิตย์นาคสุขศรี ชั้น 2 อาคารศาสดราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
.
โดย นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในเปิดพิธี ร่วมบรรยายนโยบายและ
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพร้อมให้โอวาทสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะทำงานและสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง ทั้งนี้ ดร.ณันศภรณ์ นิลอรุณ ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ดร.โสภิณ วิริยะพาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพวงคราม ดร.สท้าน วารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว และสถานศึกษานำร่องทั้ง 73 แห่ง เข้าร่วมพร้อมทั้งอบรมในหัวข้อ การสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มาและความสำคัญการพัฒนากรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) การสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาความสอดคล้องของกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 กับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา ตารางการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning จากโรงเรียนดรุณสิกยาลัย โรงเรียนเพลินพัฒนา และ โรงเรียนสุจิปลิ สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กิจกรรมกลุ่มสถนศึกษานำร่องที่มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนา
นวัตกรรมการศึกษาในทิศทางเดียวกันร่วมกัน จัดทำโครงสร้างรายวิชและออกแบบหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วพ.ศ.2566 และ สรุปผลการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหลักสูตรตามกรอบ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ท.ศ.2566
.
ในการนี้สถานศึกษ นำร่องทั้ง 73 แห่งสามารถนำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบหลักสูตรนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2566 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสระแก้วในเรื่องของ หลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 10 กลุ่มดังนี้
1) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์สำคัญและบุตคลสำคัญใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
2) เศรษฐกิจ การค้าขายแดน อาชีพและการประกอบธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว
3) การเมือง การปกครองในจังหวัดสระแก้ว
4) ประเพณีท้องถิ่นและ 5 ชนชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว
5) ธรณีวิทยา สภาพดิน สภาพน้ำและสภาพอากาศใน 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว
6) อารยเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 10
7) AI และ Digital สำหรับการพัฒนานวัตกรรมตามบริบทเชิงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 😎 นวัตกรรมการพัฒนาภาษาไทยเพื่อการอ่านออก เขียนได้
9) ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากัมพูชา กับการพัฒนาจังหวัดสระแก้ว
10) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาจังหวัดสระแก้วไปปรับใช้ในโรงเรียน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว รวมจัดกิจกรรมนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว รวมจัดกิจกรรมนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2566

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565

 
ภาพบรรยากาศการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมทางไกล ชั้น ๔ อาคารสุชาติฯ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ไชยวิทย์ ธนไพศาล เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนพล พุกเส็งและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีสุข เป็นกรรมการ โดยดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานของคณะฯ และสัมภาษณ์ทีมผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้อำนวยการกองบริหารวิทยาเขตสระแก้วและทีมงานกิจการนิสิต เป็นต้น พร้อมเยี่ยมชม สถานที่ การดำเนินงานภายในคณะ และได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดแข็ง และโอกาสในการพัฒนาคณะฯ ต่อไป
Credit: ผศ.ดร.บังอร ประจันบาล