มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร ของพวกเรากันนะคะ• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)- กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช – กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ 

 มาทำความรู้จักกับสายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร ของพวกเรากันนะคะ
☑️• สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร (วท.บ.)
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตพืช 🥬🍅🌽🌳🍀🍠
– กลุ่มวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์ 🐥🐄🐑🐏🐗🐮
สายงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานวัตกรรมเกษตร สามารถทำงานในหน่วยงานด้านการเกษตร นักวิชาการ หรือนักวิจัย ตามสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักสัตวบาล นักส่งเสริมการเกษตร 

นักส่งเสริมการขายสินค้าในภาคธุรกิจเกษตร ประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตร หรือเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร

☎️ติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ชนากานต์ ลักษณะ (โทร 089-490-5896)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว 

รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
**ภาคปกติ รับวุฒิ ม.6 ปวช.หรือเทียบเท่า
**ภาคปกติ (หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน) (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) 

รับวุฒิ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า
-สมัครผ่านเวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://e-admission.buu.ac.th
-รายละเอียดระเบียบการสมัคร : https://regservice.buu.ac.th
📝 รายละเอียดเพิ่มเติม: https://agri-tech.sakaeo.buu.ac.th/ 

หรือ FB: คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ ร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Corporate BCG and Sufficient Economy Model

อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับคณะโลจิสติกส์ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะโลจิสติกส์ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และฝึกทักษะการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับบุคลากรคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corporate BCG and Sufficient Economy Model นำโดย
– รองศาตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์
– ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ดร.ประทีป อูปแก้ว รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
– ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะโลจิสติกส์ ร่วมกิจกรรมเดินตามรอยปราชญ์เกษตร การเรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะมีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนของหลักสูตรแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรได้ โดยริเริ่มจากกระบวนการการเรียนรู้การผลิตและการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากพืชเศรษฐกิจ แล้วนำหลักการดังกล่าวไป เพิ่มคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในครั้งนี้ มีกิจกรรมลงแปลงเกษตรเพื่อเตรียมหน้าดิน ลงต้นอ่อนเพื่อเพาะปลูกพืชสมุนไพรสรรพคุณชะลอวัย มีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายอาการเหนื่อยล้า “ว่านโปร่งฟ้า” และกิจกรรมสุดพิเศษส่งท้าย กิจกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง (Sorghum) พืชทนร้อนทดแดดเหมาะกับสภาพอากาศของไทย เพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาผลิตเป็นมอลต์เพื่อผลิตคราฟต์เบียร์ข้าวฟ่าง (Craft Beer)
โดยโครงการฯ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 โปรดติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจใน Episode ต่อไปค่ะ ♥

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์
ติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช เข้าร่วมติดตามการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ดร.ภญ.ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะ โดยเข้าติดตาม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพืชผักอินทรีย์ คทช. หนองใหญ่ ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดตามเพื่อรับฟังปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่กลุ่มฯ ผลิตได้ตามเงื่อนไขเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตยาสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง กับ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง
กับศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช และคณบดีคณะโลจิสติกส์ รองศาสตราจารย์ ดร. ณกร อินทร์พยุงและรองคณบดีคณะโลจิสติกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล  เข้าพบ คุณวัลลีย์ อมรพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อทราบทิศทางการศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง

คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมด้วย อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย รวมทั้งได้ประชุมหารือเพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อน
และเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วยอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว
เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล
และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช พร้อมด้วยรองคณบดี ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ได้ต้อนรับ Prof. Oleg Shovkovyy อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทำงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง ด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร
👉 นอกจากนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันในอนาคต

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566
“soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“
ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา มอบหมายให้ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
.
โดยนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ปลัดจังหวัดสระแก้ว หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอเมืองสระแก้ว หมอดินอาสา เกษตรกร เข้าร่วมพิธี โดยในพิธีผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วได้กล่าวรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม“ เนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคม และกล่าวประกาศเจตนารมย์ วันดินโลกเนื่องในโอกาสกิจกรรม kick off วันดินโลกปี 2566 กระทรวงมหาดไทย ภายหลังเสร็จพิธีผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วได้เดินเยี่ยมบูธนิทรรศการส่วนราชการเกี่ยวกับงานวันดินโลก และตลาดที่เกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายด้วย
 

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์ ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์
ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา มอบหมายให้ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร นางจริยา ธรรมธัญ ตำแหน่งบรรณารักษ์ และงานประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์ ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

.
โดยนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเป็นประธานเปิดกิจกรรมปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และ โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” พร้อมด้วย เหล่ากาชาดจังหวัดสระแก้ว หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ ออกหน่วยจังหวัดเคลื่อนที่ โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” และ กิจกรรม ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ มอบทุนการศึกษาของกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน มอบเงินสงเคราะห์เด็กครอบครัวยากจน และ มอบถุงธารน้ำใจเหล่ากาชาดฯ ให้แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจนเดือดร้อนและด้อยโอกาส พร้อมได้ตรวจเยี่ยมการให้บริการของส่วนราชการที่ร่วมโครงการฯ ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วร่วมตั้งบูธในการประชาสัมพันธ์รับนิสิตใหม่ ในปีการศึกษา 2567 นอกจากนี้การจัดจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าพื้นบ้านมาจำหน่ายการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและรักษาพยาบาล บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า บริการอำเภอยิ้มออกหน่วยทำบัตร และ บริการตัดผม พร้อมทั้งแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค และอื่นๆอีกมากมาย พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา นำนิสิตศึกษานอกห้องเรียน รายวิชา “นวัตกรรมการผลิตและแปรรูปอ้อยแบบครบวงจร” (Innovation in sugarcane production and its products)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา
นำนิสิตศึกษานอกห้องเรียน
รายวิชา "นวัตกรรมการผลิตและแปรรูปอ้อยแบบครบวงจร"
(Innovation in sugarcane production and its products)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา ติดตามผลการดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย ประจำปี 2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ติดตามผลดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย คือความใส่ใจจากคาร์กิลล์ ประจำปี 2566 ในการรายงานปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างการเพาะปลูก วิธีการแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น
และแผนการดำเนินงานโครงการฯในปีถัดไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สรุปงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี 2566 ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สรุปงานโครงการส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี 2566
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

ภาพบรรยากาศ การสรุปงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี ๒๕๖๖ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มาอย่างต่อเนื่อง
👉🏵คุณสุขปราณีย์ ดีระดา ผู้ประสานงานสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) กล่าวสรุปผลความสำเร็จของโครงการฯ การส่งเสริมและสนับสนุนจากมูลนิธิโคเออร์ให้ผู้พิการมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และทักษะอาชีพให้กับผู้พิการอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานภาคีที่คอยประสาน ให้กำลังใจ ติดตามงานในระดับชุมชนอย่างสม่ำเสมอจนปัจจุบัน พบว่า ผู้พิการทั้ง ๑๐ คนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงไก่ไข่ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
📗ในการนี้ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม และ ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว กล่าวแสดงความยินดีในผลสำเร็จของโครงการฯ และชื่นชมในความมุ่งมั่นอุตสาหะของผู้พิการในการเลี้ยงดูไก่ไข่จนสามารถให้ผลผลิตและเกิดเป็นรายได้ ทั้งนี้ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม และผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ให้เกียรติเป็นตัวแทนมอบประกาศนียบัตรสำเร็จหลักสูตร การเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ให้กับผู้พิการ