คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมด้วย อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย รวมทั้งได้ประชุมหารือเพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
ลงพื้นที่ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อน
และเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วยอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว
เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล
และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช พร้อมด้วยรองคณบดี ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์ และผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ ได้ต้อนรับ Prof. Oleg Shovkovyy อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทำงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง ด้านเทคโนโลยี AI & Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการโรงเรือนอัจริยะให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกเมล่อนและเกษตรปลอดสารบ้านฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมทั้งได้ประชุมหารือกับคณบดีและทีมบริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทบาเขตสระแก้ว เพื่อนำเทคโนโลยี Precision Agriculture มาประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบการปลูกฟ้าทะลายโจร ไม้ผล และการจัดการระบบน้ำของฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร
👉 นอกจากนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ร่วมสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันในอนาคต

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566
“soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“
ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา มอบหมายให้ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
.
โดยนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงานวันดินโลกจังหวัดสระแก้ว ปี 2566 “soil and Water : a source of life : ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต“ ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ปลัดจังหวัดสระแก้ว หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอเมืองสระแก้ว หมอดินอาสา เกษตรกร เข้าร่วมพิธี โดยในพิธีผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วได้กล่าวรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม“ เนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคม และกล่าวประกาศเจตนารมย์ วันดินโลกเนื่องในโอกาสกิจกรรม kick off วันดินโลกปี 2566 กระทรวงมหาดไทย ภายหลังเสร็จพิธีผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วได้เดินเยี่ยมบูธนิทรรศการส่วนราชการเกี่ยวกับงานวันดินโลก และตลาดที่เกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายด้วย
 

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์ ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์
ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา มอบหมายให้ ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร นางจริยา ธรรมธัญ ตำแหน่งบรรณารักษ์ และงานประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมงานกับจังหวัดสระแก้วออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน และ โครงการปกป้องและเชิดชูสถาบัน พระมหากษัตริย์ ณ โรงเรียนสระปทุม หมู่ที่6 ตำบลทัพพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

.
โดยนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเป็นประธานเปิดกิจกรรมปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และ โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” พร้อมด้วย เหล่ากาชาดจังหวัดสระแก้ว หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ ออกหน่วยจังหวัดเคลื่อนที่ โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” และ กิจกรรม ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ มอบทุนการศึกษาของกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน มอบเงินสงเคราะห์เด็กครอบครัวยากจน และ มอบถุงธารน้ำใจเหล่ากาชาดฯ ให้แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจนเดือดร้อนและด้อยโอกาส พร้อมได้ตรวจเยี่ยมการให้บริการของส่วนราชการที่ร่วมโครงการฯ ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วร่วมตั้งบูธในการประชาสัมพันธ์รับนิสิตใหม่ ในปีการศึกษา 2567 นอกจากนี้การจัดจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าพื้นบ้านมาจำหน่ายการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและรักษาพยาบาล บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า บริการอำเภอยิ้มออกหน่วยทำบัตร และ บริการตัดผม พร้อมทั้งแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค และอื่นๆอีกมากมาย พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา นำนิสิตศึกษานอกห้องเรียน รายวิชา “นวัตกรรมการผลิตและแปรรูปอ้อยแบบครบวงจร” (Innovation in sugarcane production and its products)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา
นำนิสิตศึกษานอกห้องเรียน
รายวิชา "นวัตกรรมการผลิตและแปรรูปอ้อยแบบครบวงจร"
(Innovation in sugarcane production and its products)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา ติดตามผลการดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย ประจำปี 2566

คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ติดตามผลดำเนินโครงการ Cargill Cares การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัย คือความใส่ใจจากคาร์กิลล์ ประจำปี 2566 ในการรายงานปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างการเพาะปลูก วิธีการแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น
และแผนการดำเนินงานโครงการฯในปีถัดไป

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สรุปงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี 2566 ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สรุปงานโครงการส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี 2566
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

ภาพบรรยากาศ การสรุปงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ประจำปี ๒๕๖๖ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ หมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มาอย่างต่อเนื่อง
👉🏵คุณสุขปราณีย์ ดีระดา ผู้ประสานงานสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) กล่าวสรุปผลความสำเร็จของโครงการฯ การส่งเสริมและสนับสนุนจากมูลนิธิโคเออร์ให้ผู้พิการมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และทักษะอาชีพให้กับผู้พิการอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานภาคีที่คอยประสาน ให้กำลังใจ ติดตามงานในระดับชุมชนอย่างสม่ำเสมอจนปัจจุบัน พบว่า ผู้พิการทั้ง ๑๐ คนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงไก่ไข่ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
📗ในการนี้ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม และ ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว กล่าวแสดงความยินดีในผลสำเร็จของโครงการฯ และชื่นชมในความมุ่งมั่นอุตสาหะของผู้พิการในการเลี้ยงดูไก่ไข่จนสามารถให้ผลผลิตและเกิดเป็นรายได้ ทั้งนี้ ผศ.ดร.ไพทูล แก้วหอม และผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านไพรจิตร ตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ให้เกียรติเป็นตัวแทนมอบประกาศนียบัตรสำเร็จหลักสูตร การเลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่) ให้กับผู้พิการ
 

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Farmer : ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Project: “Farmer Project”
: Promoting knowledge of growing economic crops for sustainability)
รวมถึงอภิปรายและหารือทิศทางแนวทางการพัฒนาโครงการฯ
ในระยะถัดไปร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
และนายไสว ศรีไสย ตำแหน่ง Corporate Responsibility Manager Global Communications Corporate Responsibility บริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด

ภาพบรรยากาศโครงการทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ประจำปีการศึกษา 2566 จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องยุวถาวร ชั้น 3 อาคารเทียนทอง

ภาพบรรยากาศโครงการทำบุญ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ประจำปีการศึกษา 2566

จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2566
ณ ห้องยุวถาวร ชั้น 3 อาคารเทียนทอง โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต ศิษย์เก่า
และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา เดินหน้ายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ “ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (203)” และ “ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (303-1)” คณะเทคโนโลยีการเกษตร ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา
เดินหน้ายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
“ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (203)”
และ “ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (303-1)”
ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ

ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรเข้าร่วมโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับผู้บริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ.2566

มหาวิทยาลัยบูรพาจัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต
สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ. 2566

มหาวิทยาลัยบูรพาจัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ. 2566 
 
👉👉👉มหาวิทยาลัยบูรพา โดยกองบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลร่วมกับสำนักบริการวิชาการ จัดโครงการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งอนาคต สู่การเป็นมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก สำหรับนักบริหารระดับสูง ประจำปี พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อ่าวนาง บีช รีสอร์ท จ.กระบี่ โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานการจัดโครงการฯ
รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี กล่าวว่า การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้บริหารในองค์กร รวมถึงการปฏิรูประบบอุดมศึกษา การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะคณาจารย์ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่เวทีโลก รวมถึงการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากส่วนงานต่าง ๆ มีผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยเน้นการวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมโยงกับทิศทางการอุดมศึกษา ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
ภายในโครงการมีการบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน ความซ้ำซ้อน และความคุ้มค่า” โดย รศ.ดร.สมถวิล จริตควร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และทีม การบรรยายเรื่อง “สถานการณ์ปัจจุบันกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย ผศ.ดร.สวามินี ธีระวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย และทีม การบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง เรื่อง “การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร พิชยดนย์ ผู้อำนวยการศูนย์อนาคตเชิงกลยุทธ์และการวิจัยเชิงระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การบรรยายและอภิปรายพร้อมระดมสมอง เรื่อง “การคาดการณ์อนาคตเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์” โดย ดร.ธีระวุฒิ พิชญสัจจา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แกรนด์ เคมีเคิล ฟาร์อีสต์
การจัดโครงการครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูงขอมหาวิทยาลัยทุกส่วนงานเข้าร่วมเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และประยุกต์กรอบแนวคิดตามกระบวนการของ OKRs ที่เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัย รวมทั้งขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ได้ร่วมกัน