ประวัติคณะเทคโนโลยีการเกษตร

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรทางการเกษตร ที่มีความอดทน สู้งาน และเชี่ยวชาญ ในศาสตร์เกษตร

เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน

เอกลักษณ์

มุ่งสร้างเกษตรกรชั้นนำให้แก่แผ่นดิน

อัตลักษณ์

รอบรู้ สู้งาน ซื่อสัตย์

พันธกิจ

๑. ด้านการผลิตบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความอดทน สู้งาน และเชี่ยวชาญในศาสตร์เกษตร สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน และผู้ประกอบการด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
๒. ด้านการวิจัย มุ่งเน้นการวิจัยเชิงประยุกต์และการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรในชุมชน
๓. ด้านการบริการวิชาการ  มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการทางด้านการเกษตรแก่ชุมชน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่
๔. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมส่งเสริม สืบทอดศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่แทรกอยู่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้ดำรงอยู่ต่อไป
๕. ด้านการบริหารและการควบคุมภายในบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ เพื่อเป็นการวางรากฐานการบริหารที่ดี
๖. การประกันคุณภาพการศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เป็นตามเกณฑ์มาตรฐานของการศึกษา
 ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีภาคปกติ ๒ สาขาวิชา ดังนี้ ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ๔ ปี ประกอบด้วย ๒ สาขาวิชา ดังนี้ ๑.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ๒.สาขาวิชาทโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
     คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อขยายโอกาสทาง การศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทางวิชาการ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และเพื่อการพัฒนาทางการเกษตรอย่างยั่งยืน จากกรอบแนวทางการพัฒนานี้ การดำเนินงานในอนาคตของคณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงให้ความสำคัญในการเป็นส่วนงานเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน (Faculty for Sustainable Social Responsibility) โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน การใช้ทรัพยากร ทางการเกษตรของพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านการเรียนการสอนที่สามารถเรียนรู้ควบคู่การฝึกปฏิบัติใน พื้นที่จริง และการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อนำไปสู่การบริการวิชาการที่ เกิดประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร
     จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีทรัพยากรการเกษตรที่เพรียบพร้อม และที่สำคัญเป็น พื้นที่การค้าชายแดนที่กำลังมีการขยายตัวทางเศรษกิจเป็นอย่างมากเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเชียน (AEC โดยเฉพาะสินค้าที่เป็น ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ดังนั้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน ภาคการเกษตรในพื้นที่เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน จึงเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญ ของคณะฯ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคอาหารและพลังงานมีมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาทางด้านพืชพลังงานทดแทนและการผลิตอาหารที่ ปลอดภัย จึงเป็นอีกพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของคณะฯ ซึ่งแนวทางการพัฒนานี้ได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในประเด็นยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความคงของอาหารและพลังงานเรื่อง การเพิ่มปะสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร มูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่อาหาร การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร และการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน และยังสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของจังหวัดสระแก้วในประเด็น การปรับปรุงปัจจัยและกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น รองรับการเป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทนและอาหารปลอดภัยของจังหวัดอีกด้วย จากการเป็นส่วนงานเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรนี้จะช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร สร้างแรงจูงใจให้เยาวชน เกษตรกรรุ่นใหม่ และแรงงานที่มีคุณภาพ เข้ามาสู่อาชีพเกษตรกรรมทำให้มีอาชีพที่มั่นคง ทัดเทียมกับงานในสาขาอาชีพอื่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป