ประวัติคณะเทคโนโลยีการเกษตร

โครงสร้างผู้บริหาร

นายสิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช
ดร.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช
ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ดร.ประทีป อูปแก้ว
ดร.ประทีป อูปแก้ว
รองคณบดี
ผศ.ดร. สุปรีณา ศรีใสคำ
ผศ.ดร.สุปรีณา ศรีใสคำ
รองคณบดี
ผศ.ดร. ขวัญใจ หรูพิทักษ์
ผศ.ดร.ขวัญใจ หรูพิทักษ์
รองคณบดี
ผศ.ดร. สมคิด ใจตรง
ผศ.ดร.สมคิด ใจตรง
รองคณบดี
     คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อขยายโอกาสทาง การศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทางวิชาการ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และเพื่อการพัฒนาทางการเกษตรอย่างยั่งยืน จากกรอบแนวทางการพัฒนานี้ การดำเนินงานในอนาคตของคณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงให้ความสำคัญในการเป็นส่วนงานเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน (Faculty for Sustainable Social Responsibility) โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน การใช้ทรัพยากร ทางการเกษตรของพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านการเรียนการสอนที่สามารถเรียนรู้ควบคู่การฝึกปฏิบัติใน พื้นที่จริง และการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อนำไปสู่การบริการวิชาการที่ เกิดประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร
     จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีทรัพยากรการเกษตรที่เพรียบพร้อม และที่สำคัญเป็น พื้นที่การค้าชายแดนที่กำลังมีการขยายตัวทางเศรษกิจเป็นอย่างมากเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเชียน (AEC โดยเฉพาะสินค้าที่เป็น ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ดังนั้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน ภาคการเกษตรในพื้นที่เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน จึงเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญ ของคณะฯ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคอาหารและพลังงานมีมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาทางด้านพืชพลังงานทดแทนและการผลิตอาหารที่ ปลอดภัย จึงเป็นอีกพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของคณะฯ ซึ่งแนวทางการพัฒนานี้ได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ในประเด็นยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความคงของอาหารและพลังงานเรื่อง การเพิ่มปะสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร มูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่อาหาร การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร และการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน และยังสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของจังหวัดสระแก้วในประเด็น การปรับปรุงปัจจัยและกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น รองรับการเป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทนและอาหารปลอดภัยของจังหวัดอีกด้วย จากการเป็นส่วนงานเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรนี้จะช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร สร้างแรงจูงใจให้เยาวชน เกษตรกรรุ่นใหม่ และแรงงานที่มีคุณภาพ เข้ามาสู่อาชีพเกษตรกรรมทำให้มีอาชีพที่มั่นคง ทัดเทียมกับงานในสาขาอาชีพอื่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป